วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อารยะธรรมของมนุษยชาติ

ภาคที่ 1 อารยะธรรมของมนุษยชาติ(human civilization)
   คำว่า "อารยะธรรม"หมายถึงการที่้สังคมมนุษย์ของมนุษยชาติได้หลุดพ้นจากการดำเนินชีวิตอันป่าเถื่อนและก้าวไปสู่พัฒนาการในการดำรงชีวิตที่มีระดับสูงขึ้น ตามหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ในทางโบราณคดีนั้น อู่อารยะธรรมของมนุษยชาติที่สำคัญคือ (1)อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์หรืออาระธรรมอายคุปต์(อียิปต์)โบราณ การสร้างปีรามิด กำเนิดวิชาเลขาคณิต วิชาดาราศาสตร์ การกำเนิดปฎิทิน 365 วัน การอาบยารักษาศพหรือมัมมี่ การทำรถรบ การประดิษฐ์อักษรภาพ(ฮีโรกราฟฟิค) ชาวอียิปต์เรียกตนเองว่า "คอปต์"และชาวกรีกเรียกชาวอียิปต์ว่า "อายคุบโตส" ในภาพประกอบคือ อักษรภาพ และหน้ากากทองคำที่ครอบพระพักตรพระศพของฟาโรห์ทุดทังคาเมน
อาระธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์
นักประวัติศาสตร์นิยามว่า "ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแบ่งงอกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ 1.ก่อนประวัติศาสตร์และ 2.หลังประวัติศาสตร์"ก่อนประวัตฺิศาสตร์หมายถึงมนุษย์ยังไม่สามารถบันทุกเรื่องราวลงเป็นลายลักษณ์อักษร และหลังประวัติศาสตร์คือมนุษย์เริ่มบันทึกเรื่องราวลงเป๊นลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากลุ่มน้ำไทกริสและยูเฟรติส ลุ่มแม่น้ำสินธุ และลุ่มแม่น้ำฮวงโหแล้ว แม่น้ำไนล์คือแม่น้ำแห่งอารยะธรรมสายสำคัญที่สะท้อนความสว่างแห่งความเจริญของมนุษยชาติมานานเกือบ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล พระคัมภีร์ไบเบิ้ลหลายตอนได้บันทึกเรื่องราวจาก แผ่นดินอียิปต์ "ผู้ได้รับของประทานจากแม่น้ำไนล์"(the gift of the Nile)โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่ไนล์(the Nile Delta)อันเป็นศูนย์กลางของอาระยะธรรมโลกโบราณ ท่านสตีเฟน คริสเตียนคนสำคัญในคริสตศตวรรษแรกได้บันทึกถึงการศึกษาของโมเสสไว้ว่า "ฝ่ายโมเสสจึงได้รับการสอนในวิชาการทุกอย่างของชาวอียิปต์ มีสมรรถภาพในการพูดและกิจการต่างๆ"กิจการ 7.22
การค้นพบศิลาโรเสตตา  เมื่อปี ค.ศ.1799 ได้มีการค้นพบหลักฐานสำคัญที่เป็นกุญแจนำไปสู่การอ่านอักษรโบราณบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของเมืองเมมฟิสในประเทศอียิปต์ จารึกนี้สลักลงบนแผ่นศิลา 3 ด้วยภาษาโบราณ 3 ภาษาที่มีข้อความตรงกันคือ 1 ภาษาเฮียโรกลิฟฟิค(อักษรภาพ) 2. ภาษาโดเมติค และ 3 ภาษากรีกโบราณ ซึ่งเป็นจารึกของฟาโรห์ปโตเลมีย์ที่ 5 เมื่อก่อนคริสตกาล 196 ต่อมานักโบราณคดีชาวฝรั่งเศษ Pierre-François Bouchard ได้ค้นพบเมื่อ ค.ศ.1799 และทำให้เขาอ่านอักษรภาพโบราณได้สำเร็จ และทำให้โลกสามารถอ่านจารึกอักษรภาพโบราณได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น