วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ


            หลังที่่ผมได้รับประกาศนียบัตรจากศูนย์ฝึกอบรมศาสนทูตในปี ค.ศ. 1973 ก็มั่นใจว่าพระเยซูคริสต์ทรงสถาปนาให้เป็นทูตสันถวไมตรีของพระองค์ไปยังมวลมนุษย์เพื่ือนำคนทั้งหลายกลับมามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้ทรงสร้าง ในช่วงเวลาระหว่างปี 1973 ไปจนถึง ปี 1979   ก็ทำงานในฐานะผู้เผยแพร่และนักเทศน์หลายแห่ง เช่นที่ อ.วานรนิวาสน์ และ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร  อ.เมือง จ.สระบุรี อ.ไชยบาดาล จ.ลพบุรี อ.เมือง จ.ลำพูน อ.เมือง จ.ขอนแก่น อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และ สุดท้ายคือ อ.เมือง และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ส่วนมากกับพี่น้องประชาชนชาวไทยhttp://www.facebook.com/note.php?note_id=129767640418311
            ระหว่างปี 1980-1981 ผมได้รับทุนการศึกษาพิเศษจากคริสตจักรในคณะ The Pentecostal Assemblies of Canada โดยพระคุณของพระเจ้าและโดยควาามกรุณาของ ศจ. สเตอร์ลิ่ง เออร์วิน(ศาสนทูต) และ ท่าน ศจ.ดร.ดาร์แมน วิลเลี่ยม ลีน ผู้อำนวยการ Foreign Mission Department ให้ผมมีโอกาสได้ศึกษาด้านพระคัมภีร์ในหลักสูตร Post Graduate Course (หลังปริญญาโท)แต่ไม่เรียกปริญญาโท ณ สถาบัน Eastern Pentecostal Bible College เมือง Peterborough มณฑลออนทาริโอ ประเทศแคนาดา
            นับว่่าที่ประเทศแคนาดาให้ก้าวแรกกับผมในการศึกษาวิถีชีวิตของชาวต่างชาติที่่ต่างวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิง ผมจำได้ว่าก่อนจะมาถึงประเทศแคนาดา ผมเดินทางไปกับสายการบินแอร์ฟรานซ์แวะจอดเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินชาร์ลเดอโกล ชานกรุงปารีส ที่สนามบินได้พบนักเรียนไทยหลายคนที่จะไปเรียนต่อทีมหาวิทยาลัยบ้าสท์ กรุงลอนดอน
             เปลี่ยนเครื่องเชจากโบอิ้ง 747 เป็น 737 ใช้เวลาบิน 8 ชั่วโมงก็แวะส่งผู้โดยสารที่เมืองมอนทรีออล มณฑลควิเบค ประเทศแคนาดา หลังจากนั้นบินต่อไปยังปลายทางที่นครโทรอนโต มณฑลออนทาริโอ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 1980 ที่สนามบิน ดร.ลีน กรุณามารับถพร้อมเสื้อคลุมกันหนาวและหมวกแบบรัสเซีย ภายนอกสนามบินอากาศหาวมาก ทราบว่าอุณภูมิติดลบ 40 เซลเซียส
             หลังจากที่พักอยู่ที่บ้าน ดร.ลีนได้เกือบสัปดาห์ก็ต้องไปรายงานตัวเข้าเป็นนักศึกษา(นักศึกษาโข่ง) สถาบันนี้มีนามย่อว่า EPBC เป็นสถาันที่เคร่งครัดทางระเบียบวินัยมากเช่นห้ามสวมกางเ้กงยีน ห้ามเล่นร๊อคมิวสิค ท่านอธิการของวิทยาลัยเคยเป็นศิษยาภิบาลมาก่อนคือท่าน ศจ. จอร์จ อคินสัน และคณบดีของวิทยาลัยคือ ศจ.คาร์ล เวิจ และ รองอธิการฝ่ายกิจกรรม คือ ศจ.จอร์จ แมคเฟอร์สัน ผมมีเพื่อนรุ่นน้องหลายคนทั้่งเป็นชาวแคนาเดีัยนและช่าวเอเซียที่มาจากเกา่หลีใต้ สิงคโปร์
             ชีวิตในวิทยาลัยในวันจันทร์-ศุกร์ ตื่นนอน สระผม เป่าผม โกนหนวด แต่งกายสุภาพผูกเนคไท ไปยืนเข้าคิวหน้าห้องอาหาร 05.30 (หากไม่สวมเนคไทห้ามเข้าห้องอาหารเด็ดขาด) วันพฤหัสบดี ต้องไปนมัสการ(ใส่สูทสีกรมท่าและเน้คไทของวิทยาลัย)ไปนมัสการที่ Chapel บางวันพฤหัสฯอธิการสั่งห้ามนักศึกษาอ่านจดหมาย(งดจ่าย) วันพฤหัสฯใดที่พระิวิญญาณเคลื่อนไหวอาจจะนมัสการอดอาหารไปจนอีกวันหนึ่ง(หยุดเรียน 3 วันก็เคยมี) วันศุกร์เรียนครึ่งวัน นักศึกษาที่มีบ้านก็แฮปปี้กลับบ้่านไป เราไม่มีบ้านก็หาทางไปกับเพื่ือนไปเยี่ยมโบสถ์หรือไปนอนในฟาร์มทำงานกับหมูกับไก่ได้เงินมาส่งให้ภรรยาและลูกที่บ้าน คุณ เกษรต้องรับภาระเลี้ยงลูกสามคนที่บ้านที่เชียงราย
           ในช่วงปิดเทอมซัมเมอร์ผมไปฝึกงานที่เมืองเลดบริดจ์ มณฑลแอลเบอร์ตาภายใต้การดูแลของ ศจ.มารฺ์วิน ไดน่่า โดยพักอยู่กับอาจารย์อลัน และ อีวอน ดาวนี่  นอกจากนั้นได้ไปพูดตามค่ายต่างๆตามตรางที่ทางมิชชั่นจัดให้ ผมได้เป็นเพิ่อนร่วททางกับ ศจ.โรนาลด์ คารฺ์ลสันยัง และ ศจ.เรย์ฟอกเนอร์ไปเยี่ยมพูดตามคริสตจักร เราเดินทางไปตามทางหลวง 401 ไปแวะนอนที่เมืองรีเวียเดอลู มณฑลควิเบค แวะทีมอนทรีอแล นอนที่เมืองทรูโร มณฑลนิวบรันสวิต และ เมืองพรินซ์เอ็ดเวิด(เกาะในมหาสมุทรแตแลนติค)และสุดท้ายทีเมืองฮาลิแฟ้กซ์ โนวาสกอเทีย และบินกลับไปที่กรุงโทรอนโท
           หลังจากนั้นก็กลับไปเรียนในภาคฤดูใบไม้ร่วงอีก 1 เทอมก็อำลาอาลัยแคนาดาโดยบินจากกรุงโทรอนโท ไปทีเมืองแวนคูเวอร์ มณฑลบริทิชโคลัมเบีย และบินไปต่อเครื่องบินที่เมืองซีแตเติ้ล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมรืกาเมื่อวันที่ 10 มกราคม 1981 มาลงที่ฮ่องกงและต่อสิงคโปร์แอร์ไลน์กลับกรุงเทพฯ คุณเกษรฯภรรยามารับที่กรุงเทพฯ
1 ใน 15 สมาชิกคณะผู้แทนไทยในการประชุม Amsterdam 83 12-21 กรกฎาคม 1983
 อันเนื่องมาจากสมาคมเผยแผ่ข่าวประเสริฐบิลลี่เกรแฮม( Billy Graham Evangelistic Association)หรือ ฺBGEA ได้ส่งจดหมายเชิญชวนมายังผมในขณะทีี่ยังเป็นศิษยาภิบาลคริสตจักรลำพูนในปี 1981 เพื่อให้สมัครเข้าเป็นผู้แทนร่วม(participant)ในการประชุมตามโครงการ Amsterdam'83 Itinery Evangelist (การประชุมสภาสมัชชาใหญ่ว่าด้วยผู้จาริกประกาศพระกิตติคุณปี '83) กรุงอัมสเตอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผมได้ส่งใบสมัครกลันคืนไปยัง BGEA เวลาผ่านไปเกือบ 2 ปีจนลืมไปเลย ต่อมาในต้นปี 1983 ผมได้รับคำยืนยันจากคณะกรรมสรรค์หา(screeing committee)ว่่าผมได้รับเลือกคนหนึ่งจากประเทศไทย นอกจากนั้นผมไม่ทราบว่ามีใครได้รับเชิญบ้าง เมื่อผมย้ายไปเป็นศิษยาภิบาลคริสคจักรประทีปขอนแก่น ทาง BGEA ขอให้ผมส่งเทเลกซ์ยืนยันความตั้งใจว่าผมจะไปร่วมประชุม
            ผมส่งเทกเลกซ์ไปคำเดียวว่า "ํำYes,I will go" ทาง BGEA ตอบมาว่า "You are full support we will continue to contact you"ก็เป็นอันว่าผมได้รับการรับรองให้เข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นทางการแล้วเหลือแต่เตรียมตัวและไปรับตั๋วเครื่องบินที่สนามบินดอนเมืองเื่ท่านั้น ตรงนี้ผมชอบวัฒนธรรมการติดต่อแบบตะวันตกมากบนหลักการ สั้นๆ ชัดๆและแน่นอน

           เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 1980 ที่สนามบินนานาชาติดอนเมืองจึงได้พบคณะผู้แทนไทยว่ามีใครบ้างขอเล่าเท่าที่จำได้ก็แล้วกันคือ ศจ.ดร.วิเชียร วัฒกีเจริญ หัวคณะคณะผู้แทนไทย ศจ.สมพร ศิริกลการ บรรณาธิการพระคริสตธรรมประทีป(ผู้สื่อข่าวคณะผู้แทนไทย) ศจ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ศจ.รุ่ง กอธีรกุล ศจ.ดร.ธีระ เจนพิริยะประยูร(ทิโมธีเจง) ผู้ถือธงชาติไทยวันเปิดประชุมสมัชชา (อดีต) ดร.สมดี ภูสอดศรี ศจ.สง่า บุญมา ศจ.สมบัติ ทรัพยเกษตริน ศจ.บุญมา พันธศรี และ ผม ศรีธนต์ เยาว์ธานี เอาแค่จำได้ก่อนนะ
            เราออกเดินทางโดยสายการบินโดยสายการบินแห่งชาติคือสายการบิน KLM Royal Dutch Alrline จากกรุงเทพฯ แวะจอดเติมน้ำมันที่บาห์เรนและบินยาวไปลงที่สนามบินนานาชาติ Schipol ชานกรุงอัมสเตอร์ดาม ขึ้นรถบัสต่อไปยังสถานที่ลงทะเบียน Rai Center รับปลอกข้อมือพลาสติคและแฟ้มเอกสารต่างๆและหลังจากนั้นก็กินอาหารเช้า(ห่อข้าวฝรั่ง)มีแฮมกับขนมปังใส่กระบุงไว้ไปหยิบเอาเอง ใครอายก็ไม่ต้องกิน ผมต้องรีบกินและหยิบติดมือไปอีก 1 ห่อ(กลัวอดข้าวเพราะไม่มีส้มตำไ่ก่ย่างขาย) หลังจากนั้นต้องไปรายงานตัวเข้าที่พักตามที่เขาระบุไว้ในการลงทะเบียน ผมได้พักในโรงแรมระดับ 5 ดาวคือโรงแรม Amsterdam Hilton กำหนดการประชุมคือวันที่ 12 กรกฎาคม 1985 เวลา 9.30 น พิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการก็เริ่มต้่น โดย คร.คลิฟ แบโร่ว นักจัดรายการดทรทัศน์ชือดังของสหรัฐอเมริกาเป็นพิธีกร พร้อมกับการบรรเลงเพลงโดยวงซิมโฟนี่ออเคสตราจากประเทศฝรั่งเศสบรรเลงนำเพลง "สาธุนามฤทธิ์พระเยซูคริสต์"และขบวนเดินเข้าของธงชาติต่างๆประมาณ 130 ประเทศจากทุกทวีป ธงไตรรงค์ของประเทศไทยเชิญโดย ดร.ธีระ เจนพิริยะประยูร หลังจากนั้นก็มีขบวนบริกรอาสาสมัครหลายชาตื(stewards)เดินเข้าท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้อง ดร.วอลเตอร์ สมิธ ประธานอำนวยการ BGEA กล่าวเปิดการประชุม ดร.วอลเตอร์สมิธ ได้แนะนำคณะกรรมการจัดงาน Amsterdam'83 หลังจากน้นเจ้าหน้่าที่รักษาความปลอดภัยราวๆ 40 นายได้ตั้งแถวให้บุคคลสัญญาลักษณ์ของงานขึ้นบนเวที ดร.บิลลี่ เกรแฮมปรากฎตัวบนเวทั และที่ประชุมยืนขึ้นปรบมืออย่่างกึกก้อง ดร.บิลลี่ เกรแฮมได้กล่าวขอบคุณ ดร.วอลเตอร์สมิธและคณะกรรมการจัดงาน แขกรับเิชิญจาก 100 กว่าประเทศ และรัฐบาลแห่งเนเธอร์แลนด์และผู้มีส่วนร่วม และท่านได้เปิดปฐมเทศนาเรื่อง "Tear World"หรือ "โลกที่กำลังบอบช้ำฉีกขาด" เสียงเทศนาของท่านกังวาลก้องดุจเสียงของราชสีห์ ผมนั่งฟังคำเทศนาของท่านด้วยความประทับใจ วันต่อๆมาก็มีการจัดสัมมนาทางวิชาการ(work shop) ผมได้นำเสนอเรื่อง "สโมสรเยาวชนคริสเตียน"ในกลุ่มย่อย นอกจากนั้นก็ชมนิทรรศการพันธกิจของสมาคมบิลลี่เกรแฮมและมีการแจกของที่ระลึกเช่นเทปแคสเสทคำเทศนาของ วิทยากรคนสำคัญ เครื่องเล่นเทปแคสเสทแบบมือหมุน และของอื่นๆอีกมาก วันอื่นๆก็มัการประชุมแยกกลุ่มตามประเทศ สำหรับประเทศไทยก็ร่วมกันลงนามในปฏิญญา( Affirmation)ว่าด้วยการเผยแผ่ข่าวประเสริฐ ผมได้ทำหน้าที่เลขานุการชั่วคราวเพื่อจดบันทึกคำร่างในส่วนของคณะผู้แทนไทย สำหรับวันสุดท้ายจบลงด้วยพิธีมหาสนิทที่เตรียมโดยสายการบิน KLM (สายการบิน KLM รับเหมาดูแล อาหารและที่พักตลอดการจัดงาน) เป็นอันว่าการจัดงาน Amsterdam'83 ได้ปิดลงอย่างสง่างามและเราทุกคนต้องอำลาอาลัยพี่น้องคริสเตียนนานาชาติ โดยเฉพาะคริสเตียนชาวเนเธอร์แลนด์ที่ต้อนรับและบริการด้วยมิตรภาพ  เราเดินทางออกจากประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแวะจอด Transit ที่สนามบินนานาชาติอธีนาย กรุงเอเธนส์ประเทศกรีซราวๆ 2 ชั่วโมง ชื่อสนามบินเขียนเป็นภาษากรีกว่า Athenai(ชื่อกรุงเอเธนส์ออกเสียงเป็นภาษากรีกว่า "อธีนาย" และเมื่อเราไปตรงไหนที่เป็นทางออกเขียนว่า Exodo เมื่อมองไปอีกมุมของกรุงเอเธนส์จะมองเห็นยอดเขา "อาโครโพลิส"ที่ อ.เปาโลเคยยืนเทศนา หลังจากบินจากกรุงเอเธนส์เครื่องแวะจอดเติมน้ำมันที่บาห์เรน หลังจากนั้นก็กลับสู่ประเทศไทย
การศึกษาต่อที่สถาบัน Haggai
    โดยพระคุณของพระเจ้าและความกรุณาของท่านศาสนาจารย์ นิรุทธิ์ จันทร์ก้อน อดีตศิษยาภิบาลคริสตจักรใจสมาน ได้สนับสนุนผมและ ศจ.สวรรค์ สร้อยศรี ให้ผมทั้งสองคนไปร่วมการสัมมนาระดับชาติที่จัดโดยสถาบัน Haggai Institute For Advanced Leadership Training ที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนวิทยุ กรุงเ้ทพฯ การประชุมดังกล่าวทำให้ผมได้้มีโอกาสเสวนากับผู้นำคริสเตียนระดับแนวหน้าของโลกเช่น ดร.จอห์น ฮัักกัย,ดร.วันซุนลี ดร.ไมเคิ้ล ยูโซฟ ผมเกาะติดกับสถาบันฮักกัยอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดในปั 1984 ผมได้ยื่นสมัครขอเป็น candidate student ต่อ screening committee ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ผลปรากฏว่าโควต้านักศึกษาแน่นมากไม่ีูทราบว่าผมจะต้องรอนานอีกกี่ปี ผมโด้โทรศัพท์ไปหา Mr. Gilbert Chua นักธุรกิจชาวสิืงคโปร์ที่เคารพรักเหมือนพี่ชายคนหนึ่ง Mr. Gilbert Chua ได้นำเรื่องของผมไปเสนอประธานกรรมการอำนวยการสูงสุดชื่่อ Mr. William Gui และผลก็คือผมได้รับการอนุมัติโควต้าพิเศษให้เ้ป็นนักศึกษารุ่นที่ 89

      สถาบันฮักกัยนั้นตั้งอยู่บนถนน Hollandhigh สถาบันนี้คล้ายๆกับสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ของคริสเตีัยน ประธานวิทยาเขตสาธารณรัฐสิงคโปร์คือท่านแคนนอน ยิพตุงชาน และคณบดีคือ ดร.จอร์จซามูเอลท่านเป็นคริสเตียนชาวอินเดียและเป็นนักวิทยาศาสตร่์ด้านนิวเคลียฟิสิคอันดับต้นๆของอินเดีย ผมเป็นนักศึกษา on campus ร่วมห้องนอนกับศิษยาภิบาลจากประเทศบราซิล สถาบันฮักกัยก่อตั้งโดย ศจ.ดร.จอห์น เอ็ดมุนด์ ฮักกัย มีำสำนักงานใหญ่ ณ เมิองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา และมีที่ตั้งสถาบัน 2 แห่งคือ แห่งแรกในประเทศาธารณรัฐสิงคโปร์ และแห่งที่สองบนเกาะเมาอี มลรัฐฮาวาย ดดยรับนักศึกษาจากเอเซีย อาฟริกา และ ลาตินอเมริกาเป็นหลัก หลักสูตรการศึกษาครอบคลุมการบริหาร การจัดการ การเป็นผู้นำ และการประกาศพระกิตติคุณแบบก้าวหน้า รวมทั้งการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ด้วย มีการเรียนวิชาพิเศษว่าด้วยมนุษยศาสตร์ เอเซียศึกษา อิสลามศึกษา วิทยากรมาจากเกือบทุกๆประเทศ เช่น ดร.วันซุนลี อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮันนัม ดร.แอนโืทนี่ดีซูซ่าอธิการบดีสถาบันซาเวียของอินเดีย ดร.จอห์น ฮักกัย ดร.วาดี ฮักกัย(บิดาของ ดร.จอห์น ฮักกัย) วิทยากรจากกองถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลี่วู้ด วิทยากรพิเศษเช่น พณฯไลคุยชาย ประธานศาลสูงของประเทศสาธาณรัฐสิงคฺโปร์  ดร.ริชาร์ด บาววี่ อธิการบดีสถาบันบิชอปแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย และ ดร. ดั๊ก โคสาร์ท ผู้ประสานงานสถาบันฮักกัย การศึกษาที่สถาบันฮักกัยได้ช่วยให้ผมมีวิสัยทัศน์ที่กว้่างไกลที่จะกลับมารับใช้พัฒนาผู้นำคริสตชนในประเทศไทย
      การเป็นประธานการจัดงานสัมมนา "ผู้นำคริสตชน"ระดับชาติ(National Seminar) Haggai to Thailand เป็นครั้งแรก ณ.โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ลเมื่อ 3-8 สิงหาคม 1986 โดยมีผู้นำคริสตชนจากทุกคณะนิกายทั่วประเทศ 100 คน    
       ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานจัดการสัมมนาผู้นำคริสตชนในประเทศไทยจากปี 1986 อันเป็นการจัดการสัมมนาต่อมาจากการจัดสัมมนาครั้งแรกครั้งที่ 1 ที่โรงแรมรอยัลคลิฟบีชเมืองพัทยา ครั้งที่ 2 โรงแรมอิมพเรียลถนนวิทยุ 
        ที่ผมรับผิดชอบจัดการสัมมนาครั้งที่ 3 โรงแรมขอนแก่นโฮเตลปี 1986 ครั้งที่ 4 ทีี่โรงแรมศรีราชาลอดจ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ครั้งที่ 5 โีรงแรมรอแยลพรินเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานครฯ และครั้งที่ 6 ครั้งสุดท้่ายในความรับผิดขอบของผมจัดที่โีรงแรมวินเซอร์ ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานครฯ
การร่วมประชุมการวางแผนนานาชาติ(International Planing Seminar
         
         ผมได้รับเชิญให้ไปร่วมในการวางแผนนานาชาติที่จัดโดยสถาบันฮักกัยที่เมือง Northampton ประเทศสหราชาอาณาจักร(ในฐานะของผู้แทนไทย) ในการประชุมดังกล่าวมีหัวข้อว่า "More and Faster" เป็นการส้มมนาเพื่อหาผลสรุปในด้านการเพิ่มพูนจำนวนการสัมมนาและการจัดหาทุนครอบคลุมพื้นที่ให้บริการของสถาับันฮักกัยในภาคพื้นเอเเซียและโอเซียเนีย อเมริกาใต้ และ อาฟริกา ในการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนมาจากหลายทวีปทั่วโลก(ยกเว้นอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย) 
      ศจ.ดร.ริิชาร์ด บาววี่ได้มีจดหมายเชิืญผมอย่างเป็นทางการให้ผมไปเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประชุมวางแผนนานาชาติ ระหว่่าง 26 พฤษภาคม-4 มิถุนายน 1990 การไปประชุมครั้งนี้ผมเดินทางออกจากสนามบินนานาชาติกรุงเทพฯโดยสายการบิน China Airline บินตรงไปถึงสนามบินนานาชาตืฮีทโทรว กรุงลอนดอน หลังจากนั้นนั่งรถบัสจากสนามบินไป
ยังสถานีรถไฟ St. Pancras เพื่อเดินทางต่อไปยัง DaY Centre เมืิองนอร์ทแธมตันที่จัดการประชุม การเดินทางในครั้งนี้ไปกับเพื่อนร่วมทางจากไต้หวันและจากฟิลิปปีนส์  รถไฟของอังกฤษขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าวิ่งผ่านเมืองต่างๆและผ่านทัศนียภาพที่สวยงามใช้เวลาเดินทางราวๆ 3 ชั่วโมง ก็ถืงสถานทีรถไฟ Northampton จากนั้นนั่งแทกซี่ต่อไปที่ Day Centre ของสมาคม   YMCA ที่นั่นมีโอกาสได้พบกับคนที่รู้จักหลายคนตรงด้านหน้าทางเข้าห้องประชุม เช่น Billy Grime ช่างภาพของนิตยสารฮักกัย(เคยเป็นนักข่าวของนิตยสาร News Week มาก่อน พบกับเพื่อนคือ PK Deli จากประเทศอินเดีย Dr. Doug Cozart Rev. Richard Bowie Dr. John Edmund  Haggai ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสูงสุดของ Haggai Institute   Dr. Anthony D' Suza ผู้อำนวยการสถาบัน Xavier College จากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และ Don Eden เพื่อนสนิทจากประเทศแคนาดา และ Mr. Michael Penny ผู้ประสานงานสถาบันฮักกัยประจำประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากรายงานตัวลงทะเบียนแล้วได้รับป้ายชื่อที่มีเครื่องหมายธงชาติไทยเิืพื่อเตรียมการเข้าร่วมเปิดการประชุมในภาคค่ำ
สาระสำคัญของการสัมมนาการวางแผนนานาชาติ
            ในช่วงเวลา 9 วันของการสัมมนาแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่คือ ภาคเช้าเป็นการเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของชมรมศิษย์เก่าจากภูมิภาคต่างๆของโลก ผมได้นำเสนอรายงานเกี่ยวกับการจัดอบรมผู้นำคริสตชนในประเทศไทย ในระหว่างการเสนอรายงานอยู่นั้นได้มีผู้แทนจากประเทศเกาหลีได้ขอถามเรื่องคริสตจักรในประเทศไทย(แต่เป็๋นการถามนอกประเด็นสัมมนา) ประ้็ธานไม่อนุญาตให้ถามต่อผมเลยรอดตัวไป การประชุมภาคบ่ายเป็นการส้มมนาในเชิงปฏิบัติการ(workshop)การสัมมนาภาคบ่ายค่อนข้างน่าเบื่อเพราะมีเจ้าหน้าที่จาก USA มาคอยคุมเชิงตลอด การประชุมอภิปรายมีบริบทที่กว้่างมาก แต่ต้องให้บรรลุเป้าหมาย MORE AND FASTER
        ตลอดเวลาที่ผมอยู่ที่เมืองนอร์ทแธมตันอากาศไม่ค่อยแจ่มใสเพราะมีฝนตกเบาๆทั้งวันซึ่งเป็นธรรมชาติของประเทศอังกฤษ ผมมีเวลาไปชมตัวเมืองและซื้อของมาฝากภรรยาและลูกเพียงเล็กน้อยเพราะว่าของแพงมาก
พักผ่อนทัศนาจรและเยี่ยมชมกรุงลอนดอน
          มีวันหนึ่งที่สถาบันฮักกัยจัดให้เราไปทัศนาจรชมสถานทื่ทางประวัติศาสตร์เช่นปราสาทวาทเบิก และบ้านของเชคสเปีย 
                                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น