วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

หมายสำคัญที่เ้ด่นชัดในการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์

              สาระสำคัญของข่าวประเสริฐขององค์พระเยซูคริสต์เจ้าประกอบไปด้วย  ประการแรกทรงบังเกิดจากหญิงพรมจาีรีย์ตามคำทำนายของอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ(อิสยาห์ 7:14)คำทำนายนี้ได้ทำนายไว้ 700 ปีก่อนที่เหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้น และในที่สุดทั้งพระคัมภีัร์และประวัติศาสตร์ได้บันทึกถึงเหตุการณ์การประสูติขององค์อิมมานูเอล หรือพระเยซูคริสต์ในรัชสมัยของออกัสตัสซีชาร์ปกครองเหนือจักรวรรดิืโีรมัน ณ หมู่บ้านเบธเลเฮมตอนใต้ของแคว้นปาเลสไตน์ หลังจากนั้นพระเยซูได้ถูกประหารชีวิตโดยคำตัดสินของพอนทิอัสปีลาต ซึ่งเป็นผู้ว่าการโรมันและไทรบูนอลประจำแคว้นยูเดีย โดยให้ตรึงพระเยซูที่กางเขนพร้อมกับอาชญากรอีกสองคนที่ภูเขากลโกธานอกกรุงเยรูซาเล็มคำพิพากษาของพอนทิอัสปีลาตเป็นไปตามข้อเสนอแนะของสภาศาสนายูดายหรือสภาแซนเฮดริน  หลังจากนั้นพระศพของพระเยซูได้ถูกนำไปฝังไว้ที่อุโมงค์ของชายคนหนึ่งหนึ่งชื่อโยเซฟชาวอาริมาเทีย พระคัมภีร์บันทึกว่าพระศพของพระเยซูถูกฝั้งไว้เป็นเวลาสามวันและทรงฟื้นคืนพระชนม์ในรุ่งอรุณของวันต้นสัปดาห์(วันอาทิตย์) พระเยซูทรงปรากฎพระองค์แก่เหล่าสาวกและคนมากกว่า 500 คน และทรงประทับกับบรรดาสาวกต่อไปอีก 40 วัน ในระหว่างนั้นพระองค์ทรงกำชับและสั่งสอนสิ่งที่สำคัญคือการรอรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ และหลัวจากนั้นพระองค์ทรงเสด็จขึ้นสวรรค์ต่อหน้าเหล่าสาวกพร้อมกับเหล่าทูตสวรรค์ และทูตสวรรค์เหล่่านั้นได้กล่าวยืนยันว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง(กิจการ 1:11) "สองคนนั้นกล่าวว่า   “ชาวกาลิลีเอ๋ย   เหตุไฉนท่านจึงเขม้นดูฟ้าสวรรค์   พระเยซูองค์นี้ซึ่งทรงรับไปจากท่านขึ้นไปยังสวรรค์นั้น   จะเสด็จมาอีกเหมือนอย่างที่ท่านทั้งหลายได้เห็นพระองค์เสด็จไปยังสวรรค์นั้น”
                จุดเริ่มต้นเรื่องราวการเสด็จมาครัั้้งที่สองขององค์พระเยซูคริสต์นั้นเริ่มต้นจากการบันทึกของท่านลูกาในหนังสือกิจการอันเป็นปฐมบทของคำสอนถึงเรื่้องราวที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคต และเรื่องนี้มีปรากฎทั้งในหนังสือพระกิตติคุณ หนังสือธรรมสารและหนังสือวิวรณ์ อัครทูตเปาโลได้เขียนคำว่า "ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาเถิด"ไว้ในจดหมายถึงคริสตชนชาวโครินธ์ฉบับแรก บทที่ 16:22 ซึ่งตรงกับคำในภาษาอารัมเมอิคว่า "มารานาธา" และอีกตอนหนึ่งในพระธรรมวิวรณ์ที่เขียนเป็นภาษากรีกความว่า "พระองค์ผู้ทรงเป็นพยาน   ในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้   ตรัสว่า   “เราจะมาในเร็วๆนี้แน่นอน”   อาเมน   พระเยซูเจ้า   เชิญเสด็จมาเถิด" วิวรณ์ 22:20
หมายสำคัญหรือเหตุการณ์ที่บ่งชี้ถึงวาระแห่งการเสด็จกลับมา
                เมื่อพระเยซูทรงพระชนม์อยู่นั้นบรรดาสาวกของพระองค์เข้าใจว่าพระองค์คือผู้ปลดปล่อยกอบกู้ชาวยิวส์ให้ก่อตั้งรัฐเอกราชปลดแอกจากรัฐบาลโรมัน พวกเขาเข้าใจว่าพระองค์คงจะควบม้าและจับดาบนำกองทัพขับไล่กองทัพโรมันเยี่ยงยูดาส แมคคาบีส์ที่นำกองทัพยิวส์บดขยี้แอนติโอคัสอิพิฟานี่ พวกเขาถึงกับถามพระองค์ว่่า "เขาจึงทูลถามพระองค์ว่า   “พระองค์เจ้าข้า   พระองค์จะทรงตั้งราชอาณาจักรขึ้นใหม่   ให้แก่ชนอิสราเอลในครั้งนี้หรือ” แต่พระเยซูทรงตอบพวกเขาว่า "ว่า   “ไม่ใช่ธุระของท่าน   ที่จะรู้เวลาและวาระซึ่งพระบิดาได้ทรงกำหนดไว้   โดยสิทธิอำนาจของพระองค์"(กิจการ 1:6-7)
พระดำรัสของพระเยซูถึุงการสิ้นสุดของกรุงเยรูซาเล็ม
                หมายสำคัญแรกที่เราต้องเรียนรู้ตามเส้นเวลา(time line)ของประวัติศาสตร์โลกคือ "การล่มสลายของกรุงเยรูซาเล็ม" ก่อนหน้านี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาสาวกก็ได้ให้ความใส่ใจอย่างมากในการเสด็จกลับมาครั้งที่สองที่พวกเขาถึงกับทูลถามว่่า "เมื่อพระเยซูประทับบนภูเขามะกอกเทศ   พวกสาวกมาเฝ้าส่วนตัวกราบทูลว่า   “ขอทรงโปรดให้ข้าพระองค์ทั้งหลายทราบว่า   เหตุการณ์เหล่านี้จะบังเกิดขึ้นเมื่อไร   สิ่งไรเป็นหมายสำคัญว่าพระองค์จะเสด็จมา   และยุคเก่าจะสิ้นสุดลง"(มัทธิว 24:3) และอีกตอนทรงตอบว่า "” 4พระเยซูตรัสตอบเขาว่า   “ระวังให้ดี   อย่าให้ผู้ใดล่อลวงท่านให้หลง 5ด้วยว่าจะมีหลายคนมา   ต่างอ้างนามของเราว่าตัวเขาเป็นพระคริสต์   เขาจะให้คนเป็นอันมากหลงไป 6ท่านทั้งหลายจะได้ยินเสียงสงคราม   และข่าวลือเรื่องสงคราม   คอยระวังอย่าตื่นตระหนกเลย   ด้วยว่าบรรดาสิ่งเหล่านี้จำต้องบังเกิดขึ้น   แต่ที่สุดปลายยุคยังไม่มาถึง เพราะ   ประชาชาติต่อประชาชาติ   ราชอาณาจักรต่อราชอาณาจักรจะต่อสู้กัน     ทั้งจะเกิดกันดารอาหารและแผ่นดินไหวในที่ต่างๆ 8เหตุการณ์ทั้งปวงนี้เป็นขั้นแรกแห่งความทุกข์ลำบาก   ซึ่งต้องมีมาก่อนกำเนิดยุคใหม่"  ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอยกปะเด็นอันเป็นหมายสำคัญที่ต้องอย่างจดจ่อและต่อเนื่องจากพระดำรัสตอนหนึ่งของพระเยซูเกีี่่ยวกับสภาพของกรุงเยรูซาเล็มว่า "ฝ่ายพระเยซูทรงออกจากบริเวณพระวิหาร   แล้วขณะเสด็จไป   พวกสาวกของพระองค์มาชี้ตึกทั้งหลาย   ในบริเวณพระวิหารให้พระองค์ทอดพระเนตร 2พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า   “สิ่งสารพัดเหล่านี้พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือ   เราบอกความจริงแก่ท่านว่า   ศิลาที่ซ้อนทับกันอยู่ที่นี่   ซึ่งจะไม่ถูกทำลายลงก็ไม่มี” กรุงเยรูซาเล็มและพระวิหารคือเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติของอิสราเอลนอกเหนือไปจากสภาศาสนาและเทศกาลต่่างๆ พระวิหารถูกทำลายครั้งแรกโดยเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลน และถูกบูรณะในสมัยของดาริอัสกษัตริย์แห่งเมเดสเปอร์เซีย และต่อมาได้รับการบุรณะในสมัยราชวงศ์ฮาสโมเนียน และสมัยของเฮโรดมหาราช สมัยที่พระเยซูทรงพระเยาว์ก็เคยเสด็จไปพระวิหารกับบิดามารดาของพระองค์ พวกสาวกคงจะตกใจที่พระเยซูตรัสถึง"ศิลาที่ซ้อนทับ"อันหมายถึงพระวิหารและกำแพงกรุงเยรูซาเล็มอันงดงามที่จะต้องถูกทำลาย
เหตุการณ์ในปี ค.ศ.70 รัชสมัยของซีซาร์เวสปาเซียน
                        "เมื่อท่านเห็นกองทัพมาตั้งล้อมรอบกรุงเยรูซาเล็ม   เมื่อนั้นท่านจงรู้ว่าวิบัติของกรุงนั้นก็ใกล้เข้ามาแล้ว 30 ปีให้หลังจากที่พระเยซูทรงตรัสพยากรณ์ถึงการล่มสลายของพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม มาถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 70 แม่ทัพไตตัส โอรสของซีซาร์เวสปาเซียนได้ใช้กำลังทหารโรมันจำนวน 3 กองพล เข้าปิดล้อมกรุงเยรูซาเล็มใช้เวลาในการปิดล้อม 7 เดือนคือจนถึงวันที่ 7 เดือนกันยายนกรุงเยรูซาเล็มแตกโดยสิ้นเชิงและชาวยิวส์ถูกฆ่าตายและถูกนำไปเป็นเชลย "เขาจะล้มลงด้วยคมดาบและต้องถูกกวาดเอาไป   เป็นเชลยทั่วทุกประชาชาติ   และคนต่างชาติจะเหยียบย่ำกรุงเยรูซาเล็ม   จนกว่าเวลากำหนดของคนต่างชาตินั้นจะครบถ้วน"(ลูกา 21:24)

ชนชาติอิสราเอลกระจัดกระจายพลัดถิ่น(Diaspora)
                    "ต้องถูกกวาดเอาไป   เป็นเชลยทั่วทุกประชาชาติ " นับตั้งแต่ปี ค.ศ.เป็นต้นมาชนชาติอิสราเิอลต้องถูกกวาดต้อนให้พลัดถิ่นฐานบ้านเกิดไปอยู่ในส่วนต่างๆของอาณาจักรโีีรมันอันกว้่างใหญ่ที่กินเนื้อที่ของทวีปยุโรป เอเซียไมเนอร์และอาฟริกาเหนือ
วาระของคนต่างชาติที่ปกครองเหนือดินแดนศักด์สิทธิ์
      คำว่าคนต่างชาติในความหมายของชนชาติอิสราเอล(gentile)หมายถึงคนที่อยู่นอกความเชื่อในพระเยโฺฮวาห์พระเจ้า ในการสู้รบกับคนนอกศาสนานั้นการถูกคมดาบของคนนอกศาสนาถือว่าเป็นการอัปยศ ตัวอย่างที่ชาวยิวส์พากันฆ่าตัวตายบนป้อมมาสด้าก่อนที่กองทัพโรมันจะบุกขึ้นมาถึงเป็นต้น
ใต้การปกครองอาณาจักรไบแซนไทน์ ระหว่าง ค.ศ.313-636 อาณาจักรไบแซนไทน์คืออาณาจักรที่สถาปนาบนแผ่นดินของประเทศอิสราเอลโดยประเทศคริสเตียนจากยุโรป ช่วงนี้ชาวยิวส์ถูกห้ามเข้ากรุงเยรูซาเล็มยกเว้นเข้าได้ปีละหนึ่งวันคือวันคร่ำครวญถึงการที่พระวิหารถูกทำลายหรือวัน    "ทิชาบาฟ"   
ภายใต้การปกครองของชนชาติอาหรับ(636-1099)
   หลังจากศาสดาโมฮัมหมัดสิ้นชีพในปี 632 แล้วกาลต่อมายาวนานถึง 4 ศตวรรษกว่าๆ ก็เกิดระบบการปกครองของกาหลิบซึ่งมีศูนย์กลางในการปกครองในเบื่้องต้นจากกรุงดามัสกัส หลังจากนั้นศูนย์การการปกครองก็เปลี่ยนจากกรุงแบกแดด และต่อมาก็อียิปตฺ์
ภายใต้กองทัพของครูเสด (1099-1291)ในระยะเวลา 200 ปี เมื่อพระสันตปาปาเออร์บานที่2 ได้ขอร้องให้กองทัพครูเสดเดินทางจากยุโรปเพื่อยึดเอาดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนมาจากคนนอกศาสนา  ในเดือนกรกฎาคม 1099 หลังจากที่กองทัพครูเสดล้อมกรุงเยรูซาเล็มเป็นเวลา 5 สัปดาห์ในที่สุดก็สามารถยึดกรุงเยรูซาเล็๋มได้ กองทัพครูเสดได้สังหารประชาชนในกรุงเยรูซาเล็มทุกคนที่ไม่ใช่คริสเตียน ประมาณ 3 ทศวรรษกองทัพครูเสดก็ยึดครองแผ่นดินได้ทั้งหมด กองทัพครูเสดได้สถาปนา "อาณาจักรลาตินแห่งกองทัพครูเสด"ขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์
ภายใต้การปกครองของระบบสุลต่านแมมลุค (1291-1516) ปกครองจากกรุงดามัสกัส ช่วงเวลานี้เป็นการสิ้นสุดลงของยุคกลาง กรุงเยรูซาเล็มถูกทิ้งร้่าง ชุมชนชาวยิวส์ขนาดเ้ล็กยากจนอย่างแสนสาหัส ราชวงส์แมมลุคเสื่อมลงด้วยสาเหตุทางการเ้มือง การเศรษฐกิจ โรคระบาดและตั๊กแตนทำลาย
ภายใต้จักรวรรดิ์ออตโตมัน (1517-1917) ดินแดนประเทศอิสราเอลถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต โดยมีการปกครองขึ้นตรงกับกรุงดามัสกัส และปกครองจากกรุงอิสตันบุล การเริ่มต้นสมัยของออตโตมัน ครอบครัวชาวยิวส์ 1,000 ครอบครัวที่่อยู่ในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม นาบลัส(เชเคม) เฮ็บโรน กาซา และ ซ่าเฟท ชุมชนชาวยิวส์ประกอบด้วยยิวส์ที่อยู่ในแผ่นดินมาก่อนบวกกับชาวยิวส์ที่ย้ายมาจากอาฟริกาเหนือและยุโรป
เพลิงบัลลัยกัลป์(The Holocaust)การสังหารหมู่ชาวยิวส์
   "เขาจะล้มลงด้วยคมดาบและต้องถูกกวาดเอาไป   เป็นเชลยทั่วทุกประชาชาติ   และคนต่างชาติจะเหยียบย่ำกรุงเยรูซาเล็ม   จนกว่าเวลากำหนดของคนต่างชาตินั้นจะครบถ้วน"(ลูกา 21:24) ในระหว่างที่ชนชาติอิสราเอลหรือยิวส์อยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาตินั้นเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า Diaspora "การกระจัดกระจาย"กล่าวคือชาวยิวส์ส่วนมากอยู่กระจายไปในพื้นที่ๆอาณาจักรโบราณเคยครอบครองหรือในทวีปยุโรปในสมัยปัจจุบัน
การเรื่องอำนาจของพรรคนาซีเยอรมัน โลกในเวลานั้นต้องระทมทุกข์จากภาวะของสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศเยอรมันซึ่งในอดีตเคยเป็นอาณาจักรไรน์ที่รุ่งเรือง  หลังจากที่พรรคนาซีเยอรมันสามารถกุมอำนาจการบริหารประเทศ และ อด๊อฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสาทการของเยอรมันจาก 2 สิงหาคม 1934-30 เมษายน 1945
การเกลียดชังและการกล่าวโทษชาวยิวส์
    อย่างที่ผู้อ่านได้อ่านมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่าชาวยิวส์ได้กระจัดกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของทวีปยุโรปและอาฟริกาที่อดีตอาณาจักรโรมันเคยปกครอง ซึ่งต่อมาได้แก่โปแลนด์ เยอรมัน เชคโกสโลวาเกีย(โบฮีเมีย)  การเรืองอำนาจของนาซีแผ่ซ่านครอบคลุมส่วนใหญ่ของ เยอรมัน-ออสเตรีย เยอรมันตะวันออกในยุโรปตะวันตกและ โปแลนด์ในยุโรปตะวันออก 

  

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอพระเจ้าอวยพ่อศรีธนต์ที่ยังยืนหยัดในการรับใช้พระเจ้าทั้งชีวิต ท่านได้ให้ความเข้าใจที่ล้ำลึกในเรื่องราวของพระเจ้าแก่สาวกของพระเยซูคริสต์อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย

    ตอบลบ
  2. ขอขอบใจสำหรับกำลังใจ พระเจ้าอวยพระพร

    ตอบลบ