ประวัติศาสตร์คริสตจักร
คำนำดร.เฮนรี่ เอ็ชฮาเลย์กล่างไว้ว่า "พระคริสตธรรมคัมภีร์ประกอบไปด้วยเรื่องราวของพระคริสต์ และคริสตจักรดำรงอยู่เพื่อประกาศพระคริสต์และประวัติศาสตร์คริสตจักรคือการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องของประวัติศาสตร์ของพระคริสตธรรมคัมภีร์"และในตอนหนึ่งของไมเคิ่ล คอลลินส์ "คริสตชนและคนที่ไม่เป็นคริสตชนที่มีอะไรเหมือนกันก็คิือ ประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่หรือส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์โลก ความเืื่ชื่อของคริสตชนมีอิทธิพลต่อภาวะแวดล้อมของทุกชีวิตจากศีลธรรมไปสู่่การเมือง จากศิลปะไปสู่วรรณคดีและจากวิทยาศาสตร์ไปสู่ปรัชญา"
การแบ่งยุคต่างๆในประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์โลกแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ
(1) ยุคโบราณแบ่งออกเป็น 6 ช่วงคือ
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์อียิปต์(หรืออาระธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์)
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์อัสซีเรีย
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์บาบิโลน
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์เปอร์เซีย
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์กรีซ และ
ยุคอารยะธรรมของจักรวรรดิ์โรมัน
(2)ยุคกลาง นับตั้งแต่การล่มจมของอาณาจักรโรมันไปจนถึงการค้นพบทวีปอเมริกา
(3)ยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 มาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากลก็แบ่งออกเป็น 3 ยุคเช่นกันคือ
(1) สมัยจักรวรรดิ์โรมัน
สมัยนี้ประกอบไปด้วยการข่มเหงประหัตประหารคริสตชน ธรรมวีรชน อัครปิตาจารย์ กระแสความขัดแย้งภายในคริสตจักร ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาทางราชการของจักรวรรดิ์โรมัน
(2) สมัยกลาง
การกำเนิดคริสตจักรโรมันคาธอลิคและระบบพระสันตปาปา การก่อตั้่งจักรวรรดิ์โรมันศักดิ์สิทธิ์ ศาลศาสนา การกำเนิดของบรรพชิตและระบบอารามวาสี การขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และการเกิดสงครามครูเสด
(3) สมัยใหม่
การปฏิรูปของมาร์ตินลูเธอร์และการขยายตัวของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนด์ มีการนิยมการอ่านพระคัมภีร์อย่างกว้างขวาง รัฐบาลของประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกมีอิสระภาพจากการครอบงำของจักรวรรดิ์โรมันศักดิ์สิทธิ์และการคุกคามของระบบบรรพชิต การทำพันธกิจในโลกกว้าง การปฎิรูปทางสังคมและความมีภราดรภาพของคริสตชน
3 นิกายใหญ่ของศาสนาคริสต์
การกำเนิดนิกายของศาสนาคริสต์มาจากการแตกแยกครั้งใหญ่สองครั้งคือ ครั้งแรกครั้งที่ 1 ในศตวรรษที่ 9 เมื่ือคริสตจักรในภาคตะวันออกของจักรวรรดิ์โรมันซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนคอนสแตนติโนเปิลที่ใช้ภาษากรีกเป็นภาษาอย่างเป็นทางการของศาสนจักร แยกตัวออกจากคริสตจักรในภาคตะวันตกที่ีมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโีรมที่ใช้ภาษาลาตินเป็นภาษาอย่างเป็นทางการของศาสนจักร และ
การแตกแยกครั้งที่ 2 ภายใต้การปฏิรูปของมาร์ตินลูเธอร์ในศตวรรษ 16 ในประเทศเยอรมัน สรุปแล้วศาสนาคริสต์มีนิกายใหญ่ๆ 3 นิกายคือ
(1)นิกายกรีกคาธอลิค มีอิทธิพลมาที่สุดในยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้
(2)นิกายโรมันคาธอลิค มีอิทธิพลมาที่สุดในยุโรปตอนใต้และอเมริกาใต้
(3)นิกายโปรเตสแตนด์ มีอิทธิพลมาที่สุดในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ
ความเห็นของฮานัค
" คริสตจักรกรีกคาธอลิคคือคริสตจักรดั้งเดิมที่ผสมผสานกับธรรมเนียมกรีกและลัทธิศาสนาตะวันออก คริสตจักรกรีกคาธอลิคคือคริสตจักรดั้งเดิมที่ผสมผสานกับธรรมเนียมกรีกและโรมัน แต่คริิสตจักรโปรเตสแตนด์ได้หลุดพ้นจากธรรมเนียมทั้งปวง"
จักรวรรดิ์โรมัน
Imperium Romanum
ศาสนาคริสต์และคริสตจักรได้ประดิษฐานลงในจักรวรรดิ์โรมันอันกว้างใหญ่ที่หลากหลายไปด้วยเชิ้อชาติภาษา หลากหลายไปด้วยวัฒนธรรมและขนบประเพณี จากหลักฐานที่อัครสาวกเปโตรได้เขียนไว้ตอนหนึงมีความว่า "เปโตร อัครทูตของพระเยซูคริสต์ เรียน พวกที่กระจัดกระจายไปอยู่ในแคว้นปอนทัส แคว้นกาลาเทีย แคว้นคัปปาโดเซีย แคว้นเอเชีย และแคว้นบิธีเนีย ซึ่งเป็นผู้ที่พระเจ้าพระบิดาได้ทรงเลือกและทรงกำหนดไว้แล้ว และพระวิญญาณได้ทรงชำระแล้ว เพื่อให้มีความนบนอบเชื่อฟังพระเยซูคริสต์ และให้ได้รับการประพรมด้วยพระโลหิตของพระองค์" นอกจากแคว้นต่างๆที่ปรากฎตามหลักฐานของอัครสาวกเปโตรแล้ว จักรวรรดิ์โรมได้แบ่งประเทศกรีซออกเป็นเสี่ยงๆเช่นแคว้นมาซิโดเนียที่เมืองฟิลิปปีเป็นเมืองหลวง แคว้นอาคายามีนครโครินธ์เป็นเมืองหลวง แคว้นกรีซมีนครเอเธนส์เป็นเมืองหลวง
หลังจากจักรวรดิ์กรีซเสื่อมอำนาจไปแล้วชนเผ่าเพลเบี้ยน และ ชนเผ่าอีตรุสกันได้รวมตัวตัวกันก่อให้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่แก่โลกภายใต้ชื่อ "โรมัน"โดยการสถาปนากรุงโรมเมื่อก่อนคริสตกาล 753 ปี ชนชาติโีรมันเชือว่าพวกเขาเป็นทายาทของโรมุสและโรโมรุสผู้เป็นบุตรของนางหมาป่าและเป็นผู้ก่อตั้งกรุงโีรม ชาวโรมันได้เข้่าครอบครองคาบสมุทรอิตาลีเมื่อก่อนคริสตกาล 343-272 ปี หลังจากนั้นได้เข้ายึดครองอาณาจักรคาร์เถจเมื่อก่อนคริสตกาล 264-146 เข้ายึดจักรวรรดิ์กรีซและเอเซียน้อยเมื่อก่อนคริสตกาล 215-146 และเข้าครอบครองสเปน กอล บริตัน และ ทิวตัน เมื่อก่อนคริสตกาล 133-31 ปี
ระยะเวลาแห่งการขยายแสนยานุภาพของจักรวรรดิ์โีรมันจากช่วงเวลาก่อนคริสตกาล 46 ไปจนถึง ค.ศ. 180 ได้ปกครองจากอาณาเขตของมหาสมุทรแอตแลนติคไปจรดแม่น้ำยูเฟรติส จากทะเลเหนือไปจนถึงทะเลทรายอาฟริกาซึ่งคาดว่าประชากรทั้งสิ้นที่จักรวรรดิ์โรมันปกครองอยู่ในเวลานั้นประมาณ 120 ล้านคน
รัชสมัยการครองราชย์ของจักรพรรดิ์โรมัน รายพระนามและพระราชประวัติโดยสังเขป
1. จูเลียสซีซาร์ ก.ค.ศ.46-44
จูเลียส ซีซาร์ หรือชื่อจริง ไกอัส จูเลียส (อังกฤษ: Julius Caesar ; ละติน: GAIVS IVLIVS CAESAR) เป็นรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เขาได้สถาปนาตนเองขึ้นปกครองกรุงโรม และได้ทำให้อาณาจักรโรมมีชื่อเสียง เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นฟอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือกับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการบริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"
ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์
ผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนย่อมมีศัตรู ในโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่ทนเห็นความสำเร็จของผู้อื่นไม่ได้ จูเลียส ซีซาร์ เป็นคน ๆ หนึ่งที่ถูกอิจฉาริษยา เขาเองก็รู้ตัวดี แต่เขาจำเป็นต้องทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นเสียบ้าง คนที่คิดปองร้ายเขา คือนักโทษคนหนึ่งที่ซีซาร์เองเป็นผู้ออกคำสั่งให้ไว้ชีวิต จูเลียสไม่เคยคิดเลยว่า คน ๆ นี้จะเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ เขาผู้นั้นมีชื่อว่า มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ซึ่งเขารับเป็นลูกเลี้ยงในเวลาต่อมาการลอบฆ่าเป็นไปอย่างง่ายดาย ซีซาร์เองไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงไม่มีการระวังตัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 มีนาคมก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ซึ่งเป็นวันก่อนวันเกิดเหตุร้ายเพียงหนึ่งวัน ก็ได้มีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงว่า โลกเรากำลังจะต้องสูญเสียผู้ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง พายุพัดแรงจัด มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้าคัลเฟอร์เนีย ภรรยาของจูเลียสนึกสังหรณ์ใจจนถึงกับกราบขอร้องอ้อนวอนมิให้สามีเธอเดินทางไปประชุมสภาเซเนทใน วันรุ่งขึ้น แต่จูเลียสกลับหัวเราะเยาะราวกับเห็นเป็นเรื่องขบขันเสียเต็มประดา จูเลียสดื้อรั้นที่จะไปประชุมในวันนั้นให้ได้ เมื่อเขาเดินผ่านห้องโถง รูปปั้นตัวเขาเองก็หล่นลงมาแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย นอกจากนั้นระหว่างทาง มีชายคนหนึ่งแอบส่งจดหมายให้เขาฉบับหนึ่งขอร้องให้เขาอ่านก่อนที่จะเข้า ประชุม แต่จูเลียสเพียงแต่กำไว้ในมือโดยไม่ทันได้อ่าน ถ้าเพียงแต่เขาจะได้มีโอกาสอ่านจดหมายฉบับนั้น ประวัติศาสตร์โรมันก็คงจะเปลี่ยนไปอีกเป็นคนละรูป เพราะในจดหมายฉบับนั้นมีรายชื่อของผู้ที่คิดวางแผนจะเอาชีวิตเขาทั้งหมด รวมทั้งแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการนั้นด้วย
11.00 น. เช้าวันที่ 15 มีนาคม ก่อนคริสต์ศักราช 44 ปี ขณะที่จูเลียส ซีซาร์กำลังยืนอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการประชุมในสภาเซเนท แคสซิอุส มาร์คุส จูนิอุส บรูตุส ลูกเลี้ยงของเขา หนึ่งในจำนวนผู้วางแผนทรยศก็ได้ปักดาบคู่มือทะลุผ่านลำคอ ซีซาร์ยกมือขึ้นรับ แต่ก็ไม่สำเร็จ เขาล้มลงขาดใจตายจมกองเลือดอยู่ ณ ที่นั่นเอง
2. จักรพรรดิ์ออกัสตัสซีซาร์
จักรพรรดิออกัสตัส (ละติน: Imperator Gaius Julius Caesar Augustus: กายุส ยูลิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส) (23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสตกาล — 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงปกครองแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาลจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14 พระนามเมื่อประสูติ คือ กายุส ยูลิอุส ทูรีนุส พระองค์ทรงเป็นบุตรบุญธรรมของพระมาตุลา กายุส ยูลิอุส ไกซาร์ เมื่อ 44 ปีก่อนคริสตกาล ซึ้งในระหว่างนั้นจนถึง 27 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า กายุส ยูลิอุส ไกซาร์ ในปีที่ 27 ก่อนคริสตกาล วุฒิสภาโรมันได้ ถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า เอากุสตุส ("ผู้ได้รับความเคารพนับถือ") และทำให้พระนามของพระองค์หลังจากนั้นเป็น กายุส ยูลิอุส ไกซาร์ ออกุสตุส เนื่องจากพระองค์ทรงมีหลายพระนาม จึงมักเรียกพระองค์ว่า ออกเตเวียส เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติระหว่าง 63-44 ปีก่อนคริสตกาล ออกเตเวียน (หรือ ออกเตวิแอนัส) เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติระหว่าง 44-27 ปีก่อนคริสตกาล และ ออกุสตุส เมื่อกล่าวถึงพระราชประวัติหลัง 27 ปีก่อนคริสตกาล ในบันทึกกรีก พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม
จักรพรรดิออกัสตัส ทรงปกครองในรัชสมัยของพระองค์ถือว่าเป็น "ยุคทอง"ของจักรวรรด์โรมันจนพระองค์ทรงตรัสว่า "เรามาพบกรุงโรมเมื่อเป็นก้อนอิฐ และเราจากไปเมื่อเป็นหินอ่อน"หรือมีคำกล่าวจากนักประวัติศาสตร์ว่า "ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโีรม
พระเยซูคริสต์ทรงประสูติในรัชสมัยของพระองค์ ท่านลูกาบันทึกว่า "อยู่มาคราวนั้น มีรับสั่งจากมหาจักรพรรดิซีซาร์ ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน 2นี่เป็นครั้งแรกที่ได้จดทะเบียนสำมะโนครัว"
ออกเตเวียน มีความเฉลียวฉลาด ตั้งแต่เด็กและจูเลียส ซีซาร์ ให้ออกรบด้วยกัน จนกระทั่งจูเลียส ซีซาร์ถูกลอบสังหาร เขาเป็นบุตรบุญธรรม และทายาททางการเมืองตามพินัยกรรม และ ครองโรมันฝั่งตะวันตก และ มาร์ก แอนโทนี ครองฝั่งตะวันออก ออคเตเวียน ขึ้นครองราชย์เป็้นจักรพรรดิโรมพระองค์แรก เมื่ออายุ 36 ปี ในปี ก.ค.ศ.31 ปี และสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.14 เมื่อพระชนม์ได้ 75 พรรษา
3. จักรพรรดิ์ไทเบเรียสซีซาร์ ค.ศ.12-17
จักรพรรดิไทบีเรียส หรือ ไทบีเรียส จูเลียส ซีซาร์ ออกัสตัส พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงในรัชสมัยของพระองค์(อังกฤษ: Tiberius หรือ Tiberius Julius Caesar Augustus) (ราว 16 พฤศจิกายน ก.ค.ศ. 42 – 16 มีนาคม ค.ศ. 37) ไทบีเรียสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่สองต่อจากออกัสตัส ซีซาร์ระหว่าง ค.ศ. 14 ถึง ค.ศ. 37 ไทบีเรียสมาจากตระกูลคลอเดีย (Claudia) เป็นลูกของไทบีเรียส คลอเดียส เนโร และลิเวีย ดรูซิลลา ลิเวียหย่ากับไทบีเรียส เนโรและไปแต่งงานกับออกัสตัส ซีซาร์เมื่อ 39 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไทบีเรียสจึงกลายเป็นลูกเลี้ยงของออกัสตัส ซีซาร์ ต่อมาไทบีเรียสแต่งงานกับจูเลียลูกสาวของออกัสตัส ต่อมาก็ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมของออกัสตัสซึ่งทำให้เป็นตระกูลจูเลีย (Julia) ที่ทำให้ได้รับนามว่า “ไทบีเรียส จูเลียส ซีซาร์” จักรพรรดิโรมันต่อมาอีกสี่สิบปีจึงมาจากสองตระกูลนี้ นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า “สมัยจูลิโอ-คลอเดีย” (Julio-Claudian dynasty ไทบีเรียสเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยโรมันโบราณ ผู้ได้ทำการรณรงค์ในแพนโนเนีย (Pannonia), อิลลิริเซียม (Illyricum), เรเทีย (Rhaetia) และ เจอร์มาเนีย (Germania) ซึ่งเป็นการวางรากฐานของพรมแดนของจักรวรรดิโรมันทางตอนเหนือ แต่ไทบีเรียสมาเป็นที่รู้จักกันในฐานะจักรพรรดิผู้ไม่ชอบสุงสิงกับผู้ใดและเป็นผู้ไม่มีความต้องการเป็นจักรพรรดิ พลินิผู้อาวุโสขนานพระนามให้พระองค์ว่า “tristissimus hominum” (ผู้ที่มีอารมณ์เศร้าหมองที่สุด) [1] หลังจากการเสียชีวิตของดรูคัส จูเลียส ซีซาร์ (Drusus Julius Caesar) ลูกชายในปี ค.ศ. 23 แล้ว ประสิทธิภาพในการปกครองของไทบีเรียสก็ลดถอยลง ในปี ค.ศ. 26 ไทบีเรียสก็ลี้ภัยออกจากกรุงโรมและทิ้งหน้าที่การปกครองไว้ในมือของลูเซียส เอเลียส เซจานัส (Sejanus) ผู้บังคับบัญชากององค์รักษ์เพรทอเรียน (Praetorian prefect) และเนเวียส ซูโทเรียส มาโคร (Naevius Sutorius Macro) หลังจากไทบีเรียสเสียชีวิตแล้วคาลิกูลาหลานเลี้ยงก็ขึ้นเป็นจักรพรรดิต่อ
3.จักรพรรดิ์คาลิกูลา ค.ศ.37-41
คาลิกูลา (อังกฤษ: Caligula) หรือ กายุส ยูลิอุส ไคซาร์ ออกุสตุส เจอร์มานิคุส (Gaius Julius Caesar Augustus Germanicus) (31 สิงหาคม ค.ศ. 12 - 24 มกราคม ค.ศ. 41) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมัน ปกครองระหว่างวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 37 สืบต่อจาก ไทบีริอุส ยูลิอุส ไคซาร์ ออกุสตุส หรือ ไทบีเรียส จนกระทั่งถูกลอบปลงพระชนม์โดยถูกอาวุธมีคมแทงเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 41 ชื่อ "คาลิกูลา" เป็นชื่อเรียกขานในภาษาโรมัน อ่านว่า /kəˈlɪɡjʊlə/ มาจากคำว่า caliga ซึ่งหมายถึงรองเท้าสานของทหารโรมัน คาลิกูลาเป็นบุตรของเจอร์มานิคุส ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของจักรพรรดิไทบีเรียส กับ Agrippina the Elder ผู้เป็นหลานสาวของออกุสตุส ซีซาร์
4.จักรพรรดิ์คลอดิอุส ค.ศ.41-54
คลอดิอุส (อังกฤษ: Claudius) หรือ ไทบีเรียส คลอดิอุส ซีซาร์ ออกุสตัส เจอร์มานิคุส หรือ คลอดิอุสที่ 1 (Tiberius Claudius Caesar Augustus Germanicus or Claudius I)( 1 สิงหาคม 10 ปีก่อนคริสตกาล – 13 ตุลาคม ค.ศ. 54 )เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันปกครองระหว่าง 24 มกราคม ค.ศ. 41สืบต่อจาก กายุส ยูลิอุส ไคซาร์ ออกุสตุส เจอร์มานิคุส หรือ คาลิกูลา จนกระทั่งถูก อกริพพินา พระมเหสีของพระองค์ปลงพระชนม์ ด้วยการให้หมอหลวงนำขนนกเคลือบยาพิษเข้าปากองค์จักรพรรดิจนสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมค.ศ. 54ครองราชย์ได้ 13 ปีสิริพระชนมายุได้ 64 พรรษาตลอด 13 ปีในรัชกาลทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรมทำให้บ้านเมืองสงบสุข
5. จักรพรรดิ์เนโร ค.ศ.54-68
ในรัชสมัยของเนโรตรงกับสมัยของอัครสาวก พระองค์ทรงปกครองอย่างบ้าคลั่งกระหายเลือด
สมเด็จพระจักรพรรดินีโร (อังกฤษ: Nero) หรือที่รู้จักในชื่อ นีโรจอมโหด เป็นจักรพรรดิรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน แห่งจักรวรรดิโรมัน เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองแอนเธียม แห่งจักรวรรดิโรมัน บิดาชื่อ งาเออุส โดมิทิอุส อาเฮโนบาร์บุส (Gnaeus Domitius Ahenobarbus) มารดาชื่อ อากริพพินา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิคาลิกูลา (Caligula) จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูเซียส คลอดิอุส นีโร
วันที่ 25 กรกฎาคม เปลวเพลิงที่ผลาญกรุงโรมมาตลอด 6 วัน 6 คืนดับลงในวันที่ 7 เผาบ้านเผาเรือนไป 132 หลัง ใน 4 หมู่บ้าน นีโรสั่งให้เวนคืนที่ดินจำนวนหนึ่งมาสร้างพระราชวังทองคำ (Golden Palace) ประกอบกับการที่นีโรไม่ส่งทหารไปช่วยดับไฟ และในอดีตพระองค์เคยคิดจะเปลี่ยนชื่อกรุงโรมเสียใหม่ว่า กรุงนีโรโพลิส (Neropolis) ประชาชนจึงปักใจเชื่อว่านีโรเป็นผู้เผากรุงโรม (นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเองก็บอกว่ามีความเป็นไปได้ที่นีโรจะเป็นผู้เผา กรุงโรม) นีโรจึงสุ่มสี่สุ่มห้าบอกไปว่าผู้ที่นับถือลัทธิคริสเตียน (ศาสนาคริสต์เมื่อเกือบสองพันปีก่อนในจักรวรรดิโรมันเป็นเพียงแต่ลัทธิเล็กๆ มิใช่ศาสนาอันยิ่งใหญ่เหมือนปัจจุบัน) เป็นกลุ่มคิดกบฏและพยายามเผาโรม จึงเกิดเป็นการประหารหมู่ชาวคริสเตียนในโรมันด้วยข้อหาเผากรุงโรม ประหารโดยวิธีให้อดอาหารสัตว์ป่าในโคลอสเซียมจน หิวโซ และนำชาวคริสเตียนไปปล่อยที่สนามโคลอสเซียม และปล่อยสัตว์ป่าให้มารุมฉีกทึ้งชาวคริสเตียนต่อหน้าผู้ชม นอกจากนี้ยังเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเมืองและแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจที่ล่มจมของโรม ทำให้ประชาชนคลางแคลงใจในนีโร จนเกิดเป็นคำติดปากประชาชนชาวโรมว่า "เนโรเผาโรม"
- นีโรเครียดจัด ประกอบกับช่วงนั้นที่กรีซกำลังจะจัดกีฬาโอลิมปิกขึ้น นีโรตัดสินใจไปร่วมแข่งขัน ทั้งๆที่บ้านเมืองยังตึงเครียด ทิ้งภาระหน้าที่ไว้กับสภาสูง ระหว่างที่นีโรไม่อยู่นั้น สภาสูงลงมติว่านีโรไม่ควรเป็นจักรพรรดิอีกต่อไป...
- ค.ศ. 68 นีโรกลับจากกีฬาโอลิมปิก สภาสูงจึงส่งคนมาจับกุมโค่นอำนาจจักรพรรดินีโร นีโรจึงฆ่าตัวตายในวันที่ 9 มิถุนายนขณะอายุไม่ถึง 31 ปี และการที่พระองค์ไม่ทีทายาทเลย ทำให้ราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน ต้องสิ้นสุดลง
- อัครสาวกเปาโลถูกจับกุมคุมขังและถูกตัดศีรษะในสมัยของเนโร
ช่วงนี้คือยุคของจักรพรรดิ์ 4 องค์ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นๆใน ค.ศ.69
9. จักรพรรดิ์ เวสปาเซี่ยน ค.ศ.69-79
จักรพรรดิเวสเปเชียน หรือ ไททัส เฟลเวียส เวสปาซิเอนัส (อังกฤษ: Vespasian; ชื่อเต็ม: Titus Flavius Vespasianus g) (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 9 – 23 มิถุนายน ค.ศ. 79) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เฟลเวียนระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 69 จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 79 เวสเปเชียนทรงเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์เฟลเวียนแต่ก็เป็นราชวงศ์ที่มีอายุอันสั้น บัลลังก์ของจักรวรรดิโรมันครอบครองต่อมาโดยพระราชโอรสของเวสเปเชียน ––จักรพรรดิไททัสและจักรพรรดิโดมิเชียน
10. จักรพรรดิ์ไตตัส
จักรพรรดิไททัส หรือ ไททัส เฟลเวียส เวสปาซิอานัส (อังกฤษ: Titus; ชื่อเต็ม: Titus Flavius Vespa) (30 ธันวาคม ค.ศ. 39 – 13 กันยายน ค.ศ. 81) ไททัสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เฟลเวียระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 79 ถึงวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 81 ไททัสเป็นจักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์เฟลเวียที่ก่อตั้งโดยพระราชบิดาจักรพรรดิเวสเปเซียน ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีจักรพรรดิเพียงสามพระองค์ที่รวมทั้งจักรพรรดิโดมิเชียนพระอนุชาผู้ครองราชย์ต่อจากไททัส
ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิ ไททัสเป็นแม่ทัพโรมันผู้มีชื่อเสียงผู้รับราชการภายใต้พระราชบิดาในจังหวัดยูเดีย (Iudaea Province) ระหว่างสงครามยิว-โรมันครั้งที่ 1 (First Jewish-Roman War) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 67 ถึงปี ค.ศ. 70 สงครามมายุติลงชั่วคราวเมื่อจักรพรรดิเนโรมาเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 68 เมื่อเวสเปเซียนเข้าชิงอำนาจในการเป็นพระจักรพรรดิระหว่างสมัยที่เรียกว่าปีสี่จักรพรรดิ (Year of the Four Emperors) เมื่อเวสเปเซียนได้รับการประกาศให้เป็นพระจักรพรรดิเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 69 ไททัสก็ได้รับมอบหมายให้ทำสงครามปราบปรามชาวยิวในยูเดียต่อให้เสร็จสิ้น ซึ่งไททัสก็สามารถทำสำเร็จได้ในปี ค.ศ. 70 โดยการล้อมกรุงเยรุซาเล็ม และทำลายเมืองและวัดที่สองแห่งกรุงกรุงเยรุซาเล็ม เพื่อเป็นการฉลองในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ทางกรุงโรมก็ได้ก็สร้างประตูชัยไททัส (Arch of Titus) เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ไททัสซึ่งยังคงตั้งอยู่ในกรุงโรมจนปัจจุบันนี้ในระหว่างรัชสมัยการปกครองของพระราชบิดาไททัสก็สร้างชื่อเสียงในทางที่ไม่ไคร่ดีนักในฐานะผู้บังคับบัญชากองทหารรักษาพระองค์เพรทอเรียน (Praetorian Guard) โดยไปมีความสัมพันธ์อันเป็นที่ร่ำลือกับพระราชินีชาวยิวแบเรนิซ แม้ว่าเรื่องชื่อเสียงจะเป็นที่น่ากังวลอยู่บ้างแต่ไททัสก็ขึ้นครองราชย์ เป็นพระจักรพรรดิต่อจากพระราชบิดาด้วยความมีประสิทธิภาพ และถือว่าเป็นพระจักรพรรดิผู้มีคุณธรรมโดยซูโทเนียส (Suetonius) และนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยคนอื่นๆ
ในฐานะพระจักรพรรดิ ไททัสมีชื่อเสียงในการสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะในกรุงโรม โดยสร้างสนามกีฬากลางแจ้งเฟลเวียน (Flavian Amphitheatre) หรือที่เรียกว่าโคลอสเซียมที่ เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระราชบิดาจนเสร็จ นอกจากนั้นแล้วก็ยังทรงได้ชื่อว่าเป็นพระจักรพรรดิผู้มีพระมหากรุณาธิคุณใน การทรงช่วยเหลือประชาชนในเมื่อมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นสองครั้งๆ แรกเมื่อภูเขาไฟวิสุเวียสระเบิดในปี ค.ศ. 79 และครั้งที่สองเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นในกรุงโรมในปี ค.ศ. 80
จักรพรรดิไททัสครองราชย์อยู่ไม่ทันถึงสองปีก็เสด็จสวรรคตด้วยไข้เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 81 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเทพ (Apotheosis) โดยสภาเซเนตโรมัน
11. จักรพรรดิ์โดมิเชียน ค.ศ. 81-96
จักรพรรดิโดมิเชียนหรือ ไททัส เฟลเวียส โดมิเชียนัส[1] (อังกฤษ: Domitian; ชื่อเต็ม: Titus Flavius Domitianus) (24 ตุลาคม ค.ศ. 51 – 18 กันยายน ค.ศ. 96) โดมิเชียนทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เฟลเวียน ที่ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาจักรพรรดิไททัสเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 81 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 96 โดยมีจักรพรรดิเนอร์วาเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา จักรพรรดิ์โดมิเชียนทรงข่มเหงคริสตชนและ อัครสาวกยอห์นได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะปัทโทสในรัชสมัยของพระองค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น