วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

6 มหาอำนาจแห่งโลกโบราณ




6 ชาติมหาอำนาจแห่งโลกโบราณ

1.จักรวรรดิ์อียิปต์
 
อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์(ตอน1จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณ หรือ อาณาจักรคูช(Ancient Egypt Empire)
             เมื่อมนุษย์ได้หลุดพ้นจากความป่าเถื่อนและพัฒนาตนเองไปสู่ขีดขั้นของความเจริญรุ่งเรืองหรือทื่เรียกสั้นๆว่า "อารยะธรรม"(Civilization)นั้น นักประวัติศาสตร์ได้ระบุแหล่งที่มาของอารยะธรรมของมนุษยชาติไว้หลายแหล่งเช่น อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารยะธรรมดินแดนสมบูรณัฒจันทร์(ลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส) อารยะธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในชมพูทวีป และ อารยะธรรมลุ่มใแม่น้ำฮวงโหในประเทศจีน

ลำดับความรุ่งเรื่องของอารยะธรรมของโลกโบราณส่งต่อเป็น 6 ขั้นตอนคือ อียิปต์ อัสซีเรีย บาบิโลน เปอร์เซีย กรีซ และ โรมัน
              แม่น้ำไนล์ทอดตัวยาวไหลลงมจากจากที่ราบสูงของประเทศซูดานผ่านดินแดนที่แห้งผากแห่งหนึ่งของอาฟริกาเหนือโดยไหลจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม่น้ำไนล์ไหลผ่านประเทศต่างๆ ในทวีปแอฟริกาถึง 9 ประเทศ ได้แก่ ซูดาน บุรุนดี รวันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แทนซาเนีย เคนยา ยูกันดา เอธิโอเปีย และอียิปต์ความยาว 6695 กิโลเมตรซึ่งนับว่ามีความยาวที่สุดในโลก(ผู้เรียบเรียงขอขอบคุณภาพถ่ายและข้อมูลบางส่วนจาก Google และ MGR Online)


2. จักรวรรดิ์ อัสซีเรียน (ก.ค.ศ.
802 - 610


         อัสซีเรียเป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมโสโปเตเมียนานหลายศตวรรษ มีเมืองอัสชูร์เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไทกรีส อัสซีเรียได้กลายเป็นประเทศใหญ่และเป็นเอกราชสองครั้งในช่วงเวลาหลายศตวรรษ ครั้งแรกในสมัยบรรพชนต้นตระกูลยิว ครั้งที่สองใกล้กับสมัยที่อิสราเอลอพยพออกจากอียิปต์ ในศตวรรษที่ 9 ก.ค.ศ. อัสซีเรียยกทัพมารุกรานปาเลสไตน์ ถือเป็นครั้งที่ 3 ที่อัสซีเรียเป็นเอกราชและย่างเข้าสู่ยุคที่มีความเข้มแข็งที่สุด
ชาวอัสซีเรียบันทึกเรื่องราวของกษัตริย์และเจ้านายต่าง ๆ เรื่องการทำสงครามและส่วยที่ประเทศแพ้สงครามส่งไปให้ บันทึกเหล่านี้ยังมีอยู่และช่วยให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ของอิสราเอลดีขึ้น อัสซีเรียควบคุมประเทศต่าง ๆ ที่ตนปราบได้ด้วยการจัดเขตปกครองขึ้นใหม่ โดยยกเลิกเส้นกั้นพรมแดนเดิมของประเทศเหล่านั้นเสีย แล้วตั้งแคว้นใหม่ขึ้นมาพร้อมกับสร้างเมืองหลวงใหม่แทนเมืองหลวงเดิม ถ้าประชาชนยังขืนก่อการกบฏแข็งข้อก็จะถูกกวาดต้อนจากภูมิลำเนาเดิมให้ไปอยู่ที่บริเวณอื่นในจักรวรรดิอัสซีเรีย มีเพียงไม่กี่ชาติที่ยอมสวามิภักดิ์ต่ออัสซีเรียและได้รับอนุญาตให้คงระบอบการปกครองและการเมืองของตนไว้เหมือนเดิมแต่ต้องอยู่ใต้ปกครองของผู้นำที่อัสซีเรียเป็นผู้เลือกให้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเท่านั้น
กษัตริย์ที่สำคัญ ๆ ของอัสซีเรียมีดังนี้
ทิกลัท-ปิเลเสอร์ที่ 3 (Tiglath-Pileser III) ก.ค.ศ. 745-727
แชลมาเนเสอร์ที่ 5 (Shalmaneser V) ก.ค.ศ. 727-722
ซาร์กอนที่ 2 (Sargon II) ก.ค.ศ. 722-705
เซนนาเคอริบ (Sennacherib) ก.ค.ศ. 705-681
เอสาร์ฮัดโดน (Esarhaddon) ก.ค.ศ. 681-699
อาเชอร์บานิปัล (Ashurbanibal) ก.ค.ศ. 669-631

3. จักรวรรดิ์ บาบิโลน

บาบิโลน           ประเทศที่มีอิทธิพลต่อประชาชนแห่งราชอาณาจักรยูดาห์ในศตวรรษที่ 6 และ 7 มากที่สุดก็คือประเทศบาบิโลน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมองย้อนไปดูประวัติศาสตร์ของบาบิโลนก่อนหน้านี้ เพื่อจะได้เข้าใจบทบาทของประเทศนี้
ราชอาณาจักรโบราณของบาบิโลนถูกทำลายก่อนหน้านี้ประมาณหนึ่งพันปี และก่อนหน้านี้ไม่นานอัสซีเรียได้เข้าควบคุมเมืองต่าง ๆ และประชาชนชาวบาบิโลน ซึ่งรู้จักกันในนามว่า "ชาวแคลเดีย" อัสซีเรียแต่งตั้งคนของตนเองเป็นผู้ปกครองเพื่อชี้นำชีวิตของคนในเมืองและในชนบทรอบเมือง ต่อมาก็ได้ยกทัพเข้าโจมตีและทำลายกรุงนีนะเวห์ด้วยความช่วยเหลือของประเทศมีเดีย เนบูคัดเนสซาร์โอรสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากกษัตริย์นาโบโปลัสซาร์ พระองค์เป็นชาวแคลเดียที่มีอำนาจมากผู้หนึ่ง
เนบูคัดเนสซาร์นำกองทัพซึ่งรบชนะอียิปต์ที่คาร์เคมิชและที่ฮามัทมาแล้วพระองค์ทรงเลื่อนการโจมตีอียิปต์ออกไปอีกสามสิบหกปี อาจจะเป็นเพราะทรงตระหนักถึงหายนะที่อัสซีเรียได้รับเมื่อครั้งพยายามจะปกครองอียิปต์ซึ่งอยู่ห่างไกลจากบ้านเมืองของตนมากนัก แต่ในที่สุดเมื่อถึงเวลาอันควรเนบูคัดเนสซาร์ก็ทรงตัดสินพระทัยจะพิชิตอียิปต์ให้ได้ ในปี ก.ค.ศ. 570 เกิดกบฏขึ้นในอียิปต์ ฟาโรห์อาปรีสถูกโค่นอำนาจ ฟาโรห์อามาซีส เรียกร้องสิทธิ์ในการปกครองอียิปต์ ขณะที่เหตุการณ์ยังไม่สงบเนบูคัดเนสซาร์ที่ยกทัพมาโจมตีอียิปต์ (ยรม.46.13-26) หลังจากการโจมตีครั้งนี้แล้วก็มีสันติภาพเกิดขึ้นระหว่างชนสองชาตินี้
บรรดากษัตริย์บาบิโลนซึ่งครองราชย์ต่อจากเนบูาคัดเนสซาร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับพระองค์ หลังจากเนบูคัดเนสซาร์ไปแล้ว กษัตริย์แต่ละองค์ปกครองจักรวรรดิบาบิโลนได้ไม่นานต้องเปลี่ยนราชการใหม่ บางครั้งก็มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ในที่สุดนาโบนิดัดก็ได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสนพระทัยในขนบประเพณีโบราณมาก แต่ไม่สู้สนพระทัยการปกครองจักรวรรดิเท่าไรนัก พระองค์ทรงอนุญาตให้เบลซัสซาร์โอรสว่าราชการแทนในตำแหน่งอุปราชเป็นเวลานาน
ศาสนาของบาบิโลนพระมาร์ดุก หรือ พระเมโรดัค เป็นเทพแห่งกรุงบาบิโลนมาแต่โบราณ ชาวบาบิโลนคิดว่าเป็นสุริยเทพมาปรากฏ และตั้งชื่อให้ว่า "เบล" แปลว่า "เจ้านาย" ในศาสนนิยายเรื่องการเนรมิตสร้างโลกของบาบิโลนซึ่งบันทึกไว้ในแผ่นศิลาจารึกโบราณบอกว่า พระมาร์ดุกได้รับหน้าที่เป็นผู้ปราบปรามอำนาจชั่วต่าง ๆ ที่สร้างความโกลาหลวุ่นวายให้เกิดขึ้น ในเรื่องบอกว่าเทียมัทเป็นที่หนึ่งในบรรดาอำนาจชั่วที่ว่านี้ เมื่อมาร์ดุกสังหาร เทียมัทได้แล้ว จึงเอาร่างกายของมันมาสร้างเป็นท้องฟ้าและแผ่นดิน ชัยชนะครั้งนี้ทำให้พระมาร์ดุกได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองสรรพสิ่ง

 
4. จักรวรรดิ์ เปอร์เซีย( ก.ค.ศ.539-331)

ขณะที่บาบิโลนครองความเป็นใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของราชอาณาจักรเก่าของอัสซีเรีย พวกมีเดียครองความเป็นใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ สองจักรวรรดินี้ตั้งอยู่คู่เคียงกันเป็นเวลานานประมาณเจ็ดสิบปีโดยไม่มีการสู้รบกันอย่างเปิดเผย
ในปี ก.ค.ศ.550 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น อัสทียาเกส (Astyages) แห่งมีเดียยกทัพไปต่อสู้กับพวกเอลาม ซึ่งตอนนั้นกษัตริย์ไซรัส (Cyrus) แห่งเปอร์เซียปกครองอยู่ การสู้รบกันครั้งนี้ปรากฎว่ากองทัพมีเดียปราชัยยับเยิน เพราะกษัตริย์ไซรัสทรงเดชานุภาพและเป็นที่นิยมรักใคร่ของประชาชนเกินกว่าที่จะเอาชนะพระองค์ได้ ไซรัสทรงสามารถขับพวกมีเดียให้ล่าทัพกลับ แล้วตามไปโจมตีถึงในดินแดนของชาวมีเดียจนได้ชัยชนะ อีกไม่นานไซรัสก็ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ในเอคบาทานา (Ecbatana) และอ้างว่าพระองค์มีอำนาจในจักรวรรดิมีเดีย
นาโบนิดัด (Nabonedus) แห่งบาบิโลนกลัวว่าไซรัสจะยกทัพเลยเข้ามาโจมตีจักรวรรดิของพระองค์ ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้น พระองค์จึงได้ร่วมกับผู้นำมิตรประเทศ ได้แก่ อามาซิส (Amasis) แห่งอียิปต์ และ โครเอซัส (Croesus) แห่งลิเดียจัดตั้งกองกำลังเพื่อป้องกันประเทศของพวกตน กษัตริย์ไซรัสบุกเข้ายึดซารดิส (Sardis) เมืองหลวงของลิเดียได้เป็นแห่งแรกในปี ก.ค.ศ. 547 พอถึงปี ก.ค.ศ. 539 ไซรัสทรงยกทัพเข้าโจมตีบาบิโลนโดยตรง เวลานั้นประชาชนชาวบาบิโลนไม่นิยมเลื่อมใสในตัวกษัตริย์นาโบนิดัด เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นชาวอารัมที่มาจากเมืองฮารานซึ่งไม่ใช่เชื้อพระวงศ์แคลเดียแห่งบาบิโลนแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ยอมสักการะเทพเจ้ามาร์ดุกอีกด้วย จึงทำให้พวกปุโรหิตของพระมาร์ดุกไม่ชอบพระองค์ นาโบนิดัดเลื่อมใสศรัทธาพระสิน (Sin) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เทพองค์นี้มีวิหารอยู่ที่เมืองฮาราน ก่อนหน้านั้นหลายปี คือก่อนที่กษัตริย์ไซรัสจะยึดเอคบาทานาได้นาโบนิดัดปล่อยให้เบลชัสซาร์โอรสของพระองค์ปกครองประเทศแทน ผลที่ตามมาก็คือไม่มีการฉลองเทศกาลปีใหม่ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี เพราะเทศกาลนี้กษัตริย์จะต้องเป็นผู้นำในพิธีรื้อฟื้นความเป็นผู้นำประเทศ เรื่องนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจนาโบนิดัดอย่างมาก ดังนั้นเองจึงไม่เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อต่อสู้กับไซรัสอย่างเต็มกำลัง
ไซรัสรบชนะบาบิโลนที่เมืองโอปิส (Opis) บนฝั่งแม่น้ำไทกรีสเมื่อปี ก.ค.ศ. 539 และอีกไม่กี่วันต่อมาแม่ทัพของพระองค์ก็ยึดกรุงบาบิโลนได้สำเร็จโดยไม่มีการต่อสู้มากนัก นาโบนิดัดทรงหนีเอาตัวรอดแต่ก็ถูกจับได้ ชาวบาบิโลนต้อนรับกษัตริย์ไซรัสด้วยความปีติยินดีในฐานะที่ทรงเป็นวีรชนผู้ยิ่งใหญ่ของพวกเขาและผู้รับใช้ของพระมาร์ดุก เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมาร์ดุกกษัตริย์ไซรัสจึงทรงรื้อฟื้นเทศกาลปีใหม่ขึ้นมาอีก และนำรูปปฏิมาของเทพเจ้าต่าง ๆ กลับไปไว้ในเทวสถานเดิมของใครของมัน หลังจากไซรัสได้บาบิโลนไว้ในความครอบครองแล้วไม่นาน บรรดาเจ้านายผู้ปกครองมณฑลต่างด้าวต่าง ๆ ก็พากันมาสวามิภักดิ์ จักรวรรดิเปอร์เซียตั้งขึ้นได้ด้วยการผนวกจักรวรรดิมีเดีย จักรวรรดิบาบิโลน พร้อมกับดินแดนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลเข้าด้วยกัน โดยมีกรุงเอาบาทานาเป็นเมืองหลวง
จักรวรรดิเปอร์เซียตั้งอยู่ได้นานประมาณสองร้อยปี กษัตริย์องค์หลัง ๆ ไม่ใช่นักปกครองที่ดีเหมือนไซรัส อียิปต์และกรีกเป็นศัตรูตัวฉกาจของเปอร์เซีย คัมบีเซส (Cambyses) โอรสของไซรัสปราบอียิปต์ได้สำเร็จในปี ก.ค.ศ. 525 แต่ประชาชนชาวอียิปต์ไม่เต็มใจอยู่ใต้ปกครองของเปอร์เซียจึงก่อการกบฏขึ้นบ่อย ๆ หลายครั้งก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศกรีก ระหว่าง ก.ค.ศ. 401-342 อียิปต์ได้รับอิสรภาพอีกครั้ง แต่ก็ต้องสูญเสียไปอีกก่อนที่จักรวรรดิเปอร์เซียจะถูกโค่นลง
ประเทศกรีกสร้างความเดือดร้อนให้แก่เปอร์เซียมากกว่า และเปอร์เซียก็ไม่เคยเอาชนะกรีกได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว กษัตริย์เซอร์ซิสที่ 1 (Xerxer l) เป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซียองค์แรกที่พยายามจะพิชิตกรีกให้ได้ พระองค์ยกทัพเรือไปรบกับกรีกครั้งแรกในปี ก.ค.ศ.480 แรก ๆ ก็ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ถึงกับสามารถยึดกรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของกรีกได้ แล้วเผาวัดวาอารามและอาคารบ้านเรือนของประชาชนที่ตั้งอยู่บนเนินเขา อะโครโปลิส (Acropolis ดูภาพหน้า ) แต่อีกไม่นานกองทัพกรีกก็สามารถทำลายเรือรบส่วนใหญ่ของเปอร์เซีย กองทัพของเซอร์ซิสที่ 1 พ่ายแพ้ยับเยิน พระองค์เองก็ถูกปลงพระชนม์
อาร์ทาเซอร์ซิสที่ 1 (Artaxerxes l) ทำสงครามกับกรีกต่อไป แต่ในที่สุดก็ยอมทำสัญญาสงบศึกกันในปี ก.ค.ศ.449 หลังจากนั้นพวกกรีกก็รบพุ่งกันเอง เปอร์เซียจึงล่ากลับไปเฝ้าดูพวกกรีกฉีกเนื้อกันเองออกเป็นชิ้น ๆ ในสงครามที่เปโลโปนนีเชียน (Peloponnesian War ก.ค.ศ.431-404) ตอนนั้นไม่จำเป็นที่เปอร์เซียต้องเข้าไปแทรกแซง ชาวกรีกเอาแต่รบกันเองจนไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่จักรวรรดิเปอร์เซีย แต่ผลสุดท้ายก็สร้างความพินาศให้แก่เปอร์เซียอยู่ดี ทันทีที่เลิกทำสงครามกันเอง พวกกรีกก็เริ่มก่อกวนและสร้างความเดือดร้อนให้แก่บรรดาผู้ปกครองของเปอร์เซีย เมื่ออียิปต์เข้าร่วมผสมโรงด้วยก็ทำให้ยิ่งเดือดร้อนขึ้นกว่าเดิม ในที่สุดอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) แห่งประเทศกรีกก็ทำลายอาณาจักรเปอร์เซียได้สำเร็จ แล้วทรงครอบครองโลกสมัยโบราณไว้ได้ทั้งหมดตั้งแต่กแม่น้ำดานูบจรดแม่น้ำอินดัสและเลยไปอีก

5. จักรวรรดิ์ กรีก( ก.ค.ศ. 331-65)
    
ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกเรื่องราวของชาวกรีกไว้นานแล้ว แต่พระคัมภีร์เพิ่งจะบันทึกเรื่องราวของกรีกก็ต่อเมื่อหลังจากกลับจากการเป็นเชลยแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ สมัยก่อนชาวกรีกไม่เข้มแข็งพอที่จะมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลก
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าชาวฟีลิสเตียเดิมเป็นชาวกรีก แต่ถูกกรีกหลายกลุ่มที่มีอำนาจกว่าขับไล่ออกจากบ้านเมืองของตน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงว่า อิสราเอลพบกับชาวกรีกครั้งแรกเมื่อพวกเขาอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในปาเลสไตน์และมีการค้าขายซึ่งกันและกัน แต่การติดต่อครั้งสำคัญครั้งแรกเกิดขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งครั้งนั้นนครต่าง ๆ ของกรีกรวมกันตั้งเป็นสันนิบาตนครรัฐที่มีอำนาจเข้มแข็งภายใต้การปกครองของผู้นำท่านหนึ่ง
ในปี ก.ค.ศ. 336 นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ฟีลิปที่ 2 (Phillip II) แห่งมาซิโดเนีย และต่อมากรีกก็มีผู้นำคนใหม่คือ อเล็กซานเดอร์ (Alexander) ซึ่งเป็นโอรส พระองค์ทรงปกครองตั้งแต่ ก.ค.ศ. 336 - 323 โดยตลอดเวลาอเล็กซานเดอร์ ต้องเผชิญปัญหากับเปอร์เซีย พระองค์ทรงนำทัพไปสู้รบกับเปอร์เซีย จนกระทั่งถึงอียิปต์ ประชาชนที่นั่นพากันต้อนรับพระองค์ในฐานะผู้ปลดปล่อยพวกตนจากแอกของเปอร์เซีย อเล็กซานเดอร์รบชนะทุกแห่งที่พระองค์ยกทัพไป พระองค์ทรงทำลายจักรวรรดิเปอร์เซียลงภายในเวลาไม่ถึงสิบปี แล้วสร้างจักรวรรดิกรีกขึ้นมาแทน จักรวรรดินี้ครอบคลุมอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงประชวรเป็นไข้และสิ้นพระชนม์ที่บาบิโลนในปี ก.ค.ศ. 323 เมื่อพระชนมายุ 32 ชันษา
หลังจากกษัตริย์อเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์แล้วจักรวรรดิกรีกก็แตกเป็นเสี่ยง ๆ เพราะไม่มีผู้ใดมีอำนาจพอที่จะรับช่วงการปกครองต่อจากพระองค์ ปี ก.ค.ศ. 301 มีรัฐใหม่เกิดขึ้นห้าแห่งคือ ที่มาซิโดเนีย เทร็ซ เอเชียไมเนอร์ผนวกกับฟีนิเซีย อียิปต์ผนวกกับปาเลสไตน์ และบาบิโลน ทอเลมี (Ptolemy) ปกครองอียิปต์โดยที่แม่ทัพคนอื่นเข้าแทรกแซงไม่มากนัก แต่ในที่อื่น ๆ มีการรบเพื่อแย่งชิงอำนาจกันเอง ในปีก.ค.ศ. 281 เซลูคัส (Seleucus) ผู้ครอบครองบาบิโลนรบชนะแม่ทัพอื่นอีกสามคน ในปีเดียวกันนั้นเซลูคัสก็ถูกสังหาร มาซิโดเนียจึงประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเซลูคัส ดังนั้นกรีกจึงยังมีอำนาจเหนือบริเวณสามแห่ง คือ ที่มาซิโดเนียซึ่งปกครองโดยอันทิโกนัส (Antigonus) ที่อียิปต์ปกครองโดยทอเลมี นอกนั้นปกครองโดยตระกูลเซลูคัส ซึ่งเรียกว่าราชวงศ์เซลูซิด (Seleucis) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอันทิโอกในแคว้นซีเรีย
อำนาจสามฝ่ายนี้ปกครองต่อไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 2 ก.ค.ศ. ตอนนั้นโรมกำลังเข้ามาแย่งชิงอำนาจ ควบคุมกิจการของโลกไปจากกรีก อันทิโอกัสที่ 3 พยายามที่จะเสริมอำนาจของตนโดยเข้ายึดแผ่นดินใหญ่ของกรีกแต่ก็ถูกกองทัพโรมขับไล่กลับมาและถูกบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกในปี ก.ค.ศ. 190

6. จักรวรรดิ์ โรม( ก.ค.ศ.65-ค.ศ 70)

จักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาจักรวรรดิโบราณ

ขณะที่พวกกรีกครอบครองบริเวณด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่นั้น มีชาติใหม่กำลังก่อร่างขึ้นทางตะวันตกชาติหนึ่ง ที่อิตาลีมีนครอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากที่ขัดแย้งกันมานานนครอิสระเหล่านี้ก็สามารถรวมตัวกันเข้าเป็นรัฐใหม่รัฐหนึ่ง มีกรุงโรมเป็นเมืองสำคัญและเป็นชื่อของรัฐใหม่นี้ พวกเขาปกครองโดยระบอบ วุฒิสภา (Senate) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากตระกูลมั่งคั่งและมีอำนาจจากทุกส่วนของประเทศ ต่อมาผู้นำของวุฒิสภาได้ชื่อว่า "ซีซาร์" เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากสมัยของจูเลียส ซีซาร์ ผู้ยิ่งใหญ่เหนือซีซาร์องค์อื่น ๆ
นครของอิตาลียังคงมีความเป็นอิสระแก่ตนอยู่บ้าง คือ ต่างก็สามารถบัญญัติกฎหมายของตนเองได้ เก็บภาษีจากพลเมืองของตนเอาเอง แต่เจ้านครจะต้องยอมรับอำนาจสูงสุดของซีซาร์และของวุฒิสภาที่กรุงโรม
จักรวรรดิโรมันแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหลายมณฑล บางมณฑลปกครองโดยคนที่ซีซาร์แต่งตั้งโดยตรง เรียกว่า "ผู้สำเร็จราชการมณฑล" (Legate) หรือ "ผู้ว่าราชการมณฑล" (Proculator)โรมแสดงอำนาจสูงสุดของตนโดยส่งกองทัพไปประจำอยู่ทั่วทุกแห่งในจักรวรรดิ ทุกมณฑลมีกองทหารโรมันหรือไม่ก็มีกองกำลังต่างด้าว (Auxiliary forces) ตั้งอยู่ เราเห็นแล้วว่าราชวงศ์เซลูซิดปกครองส่วนใหญ่ของจักรวรรดิกรีก แต่ไม่ใช่ประเทศกรีกเอง ความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างพวกเซลูซิดกับชาวโรมันเกิดขึ้นเมื่ออันทิโอกัสที่ 3 พยายามจะเข้าครอบครองประเทศกรีก แต่ก็พ่ายแพ้กองทัพโรมันและถูกขับไล่ออกจากยุโรป ในปี ก.ค.ศ. 190 พระองค์ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาสงบศึกซึ่งโรมได้เปรียบอย่างสิ้นเชิง อีกยี่สิบปีต่อมา อันทิโอคัสที่ 4 พยายามเข้าครอบครองอียิปต์ และคงจะทำได้สำเร็จถ้ากองทัพโรมันไม่เข้ามาแทรกแซง หลังจากอันทิโอคัสที่ 4 สิ้นพระชนม์แล้ว อำนาจของพวกเซลูซิดก็ค่อย ๆ ลดลงจนหมดสิ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการกบฏและชิงอำนาจกันเองของคนในราชวงศ์เซลูซิด
ในปี ก.ค.ศ. 65 ปอมเปย์ (Pompey) แม่ทัพโรมัน ยกทัพไปโจมตีปาเลสไตน์และซีเรีย ท่านสามารถทำลายบริเวณที่กรีกมีอิทธิพลได้และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชน อีกสิบปีต่อมา ปอมเปย์พ่ายแพ้ที่เมืองเธสะโลนิกาในปี ก.ค.ศ. 48 และถูกกระทำฆาตกรรมในภายหลัง อีกสี่ปีหลังจากนั่น สมาชิกวุฒิสภาได้ร่วมมือกันปลงพระชนม์จูเลียสซีซาร์ จึงเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ทำให้อ็อคทาเวียน (Octavian) มีโอกาสในการขึ้นครองราชย์ ซึ่งเมื่อมีอำนาจสูงสุดจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ออกัสตัส ซีซาร์ โดยครอบครองโรมตั้งแต่ ก.ค.ศ. 31 - ค.ศ. 14 และมีพระญาติของพระองค์ได้ครองราชย์ต่อไปอีกหลายองค์
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น